วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประโยชน์จากชาใบหม่อน

ชาใบหม่อน ได้เปิดตัวอย่างเต็มรูปแบบ โดย ดร.อนันต์ ดาโลดม อธิบดีกรมวิชาการ เกษตรในรายการ “ครบเครื่องเรื่องผู้หญิง” ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 7 เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2541 นับแต่วันนั้นจนถึงวันนี้เพียงชั่วเวลา ไม่ถึง 3 ปี ชาหม่อนได้มีส่วนแบ่งตลาดเครื่องดื่มสมุนไพร ประมาณ 10% แล้ว แม้จะยังไม่มาแต่ก็ถือว่าได้รับการเติบโตของธุรกิจทางชา หม่อน เป็นไปอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับชาสมุนไพรที่ครองอันดับ หนึ่ง คือ ดอกคำฝอย ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาด 28%

“หม่อน” หรือ “ชาใบหม่อน” เป็นเครื่องดื่มสมุนไพรใหม่ล่าสุดของไทยหลังจากผู้เขียนได้ทดลองทำดื่ม แบบลองผิดลองถูกตั้งแต่ปี 2536 เนื่องจากไม่มีความรู้เรื่องการทำชาหม่อน จึงเริ่มศึกษาการทำชาจากใบชา แต่ก็มีตำรับตำราทางด้านนี้น้อยมาก การทำครั้งแรกเริ่มจากการนำใบหม่อน 3 พันธุ์ คือ พันธุ์บุรีรัมย์ 60 พันธุ์นครราชสีมา 60 และพันธุ์น้อย มาหั่นแล้วอบให้แห้ง มาชงดื่ม แต่รสชาติไม่ดี จึงปรุงแต่งกลิ่นด้วยดอกมะลิก็พอดื่มได้ แต่ยังไม่ได้รับความสนใจจากกลุ่มบุคคลต่างๆ ที่ไปแนะนำ จึงคิดศึกษาอย่างจริงจัง ด้วยการตั้งเป็นทะเบียนวิจัยและถ้ามีความเป็นไปได้ในการใช้เป็นเครื่องดื่ม สมุนไพร จะกลายเป็นธุรกิจระดับครัวเรือน และระดับโรงงาน

จาก การค้นคว้าวิจัยเอกสารวิชาการเก็บคุณสมบัติของใบหม่อน ที่ถูกนำไปใช้ทางเภสัชกรรมมากขึ้นเป็นลำดับ การวิจัยเรื่องชาหม่อน ไม่ได้ดำเนินการอย่างโดดเดี่ยวแบบเดิม ๆ อีกต่อไป เพราะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจาก บริษัทชาระมิงค์ จำกัด ในการทำชาหม่อนในรูปของชาฝรั่ง ต่อมาบริษัทไทยซิลค์ จำกัด ได้นำเครื่องจักรการทำชาเขียวเข้ามาผลิตชาหม่อน จึงได้รับความร่วมมือจากบริษัทนี้เป็นอย่างดี ในการศึกษาคุณสมบัติของชาหม่อนในรูปของชาเขียว ขณะเดียวกันศูนย์วิจัยหม่อนไหมก็ได้ศึกษาการทำชาหม่อนในรูปของชาเขียว ขณะเดียวกันศูนย์วิจัยหม่อนไหมก็ได้ศึกษาการทำชาหม่อนในรูปของชาเขียว ชาจีน และชาฝรั่งแบบครัวเรือน ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างง่ายๆ ในครัวเรือน แล้วนำผลิตภัณฑ์ชาหม่อนทั้งหมดไปตรวจสอบและวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีและ กายภาพที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) พบว่า ชา หม่อนได้คะแนนผ่านเกณฑ์มาตรฐานทั้งในรูปการผลิตแบบชาเขียว ชาจีน และชาฝรั่ง ไม่ว่าจะผลิตจากโรงงานหรือผลิตแบบครัวเรือน ท่านอธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่เพราะได้เล็งเห็น ว่า ชาหม่อน จะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ได้มีโอกาสจะขายใบหม่อนให้กับโรงงานผลิตชาหม่อนหรือเกษตรกรสามารถผลิตชา หม่อนแบบครัวเรือน เพื่อเพิ่มมูลค่าและหาตลาดจำหน่ายได้ นอกจากนั้นยังเป็นช่องทางให้ผู้ที่กำลังมองหาอาชีพใหม่ในภาวะวิกฤตทาง เศรษฐกิจในการผลิตและจำหน่ายชาหม่อนอีกด้วย

ชาหม่อนเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่ง ในอดีตใบนอกจากใช้เลี้ยงไหมแล้วยังใช้ประกอบเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น ใส่ต้มยำ แกงอ่อม ชุบแป้งทอด ลวกราดด้วยกะทิกินกับน้ำพริก ยำปลากระป๋อง และข้าวยำ เพราะมีความเชื่อว่าใบหม่อนสามารถเพิ่มรส ชาติของอาหารและมีคุณค่าทางโภชนาการ เนื่องจากมีโปรตีนและแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียมสูง ประเทศจีนได้ใช้ใบหม่อนเป็นพืชสมุนไพรรักษาอาการไอ ความดันเลือดสูง และคลายกังวล ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นและโรมาเนีย ได้ตรวจพบกาบา (GABA= Gamma aminobutyric acid) ที่มีคุณสมบัติในการลดความดันเลือดในหนูและมนุษย์ นอกจากนี้ยังพบไซโตสเตอรอล (Sitosterol) ที่สามารถลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดของกระต่ายได้ แม้จะยังไม่มีการศึกษาถึงคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาในประเทศไทย แต่เราก็พบว่ามีแร่ธาตุและวิตามินที่มีความจำเป็นสำหรับร่างกายหลายชนิด เช่น แคลเซียม และโปแตสเซียม ซึ่งมีปริมาณสูง นอกจากนี้ยังมี โซเดียม เหล็ก สังกะสี วิตามิน เอ ปี 1 และซี และทีสำคัญคือ พบกรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์ครบทุกชนิดคือ ไอโวโลศซีน (Ivoleucine) ลูซีน (leucine) เมไธโอนีน (Methionine) ซีสตีน (Cystine) ฟีนิลอะลานีน (Phenylalaine)ไธโรซีน (Tyrosine) ธรีโอนีน (Threonine) ทริฟโตเฟน (Tryptophan) ไลซีน (Lysine) และวาลีน (valoine)
ใน ปี 2543 สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร ได้ร่วมมือวิจัยกับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต พบสารต้าอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ในใบหม่อน 3 ชนิดคือ เคอเซติน (Quercetin) ไลซีน (Lysin) และรูติน (Rutin) ซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้

1. ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาในลำไส้เล็ก

2. ทำให้กระแสเลือดหมุนเวียนดี และหลอดเลือดแข็งแรง

3. ยับยั้งการเกิดสารก่อมะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งเต้านม และมะเร็งสำไส้ใหญ่

4. ลดอาการแพ้ ยืดอายุเม็ดเลือดขาว

5. สารทั้ง 3 ชนิด สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทางลำไส้เล็ก และไม่เปลี่ยนแปลสภาพ

6. พืชใช้สารเหล่านี้เพื่อให้ทนต่อลม ฝน แสงแดด ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องอาศัยจากพืช


ปัจจุบันประเทศในแถบเอเชีย รู้จักการดื่มชาหม่อนแล้ว อาทิ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ เวียดนาม มาเลเซีย และไทย อย่างไรก็ตาม ในปี 2542 สามารถส่งออกได้กว่า 40 ตัน และใช้บริโภคภายในประเทศประมาณ 60 ตัน กรมวิชาการเกษตร มีนโยบายที่จะดำเนินการวิจัยร่วมกับสถาบันวิจัยต่างๆ และสถาบันการศึกษา เรื่องสรรพคุณของชาหม่อนทางเภสัชกรรม เพื่อเป็นแบบอย่างการวิจัยพืชสมุนไพรอื่นของไทยต่อไปด้วย เหตุที่พืชสมุนไพรของไทยส่วนใหญ่ส่วนใหญ่สรรพคุณที่อ้างไว้เป็นสิ่งที่ บอกกล่าวมาจากบรรพบุรุษเป็นตำหรับยาแพทย์แผนไทยที่ยังไม่ได้มีการตรวจ วิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ในอนาคตหม่อนอาจจะเป็นพืชที่ถูกนำมาสกัดสาร ดีเอ็นเจ กาบา หรือ สารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อนำมาผลิตยาหรือนำมาใช้เป็นเครื่องดื่มสมุนไพรอย่างกว้างขวางมากกว่านี้ และเมื่อถึงวันนั้น จะสามารถลดการนำเข้ายารักษาโรคเบาหวาน ความดันและโรคอื่นๆ ได้อย่างมหาศาล

ที่มา : วิโรจน์ แก้วเรือง เส้นไหมใบหม่อน . ชาหม่อน ชาสมุนไพร ชาไทยแท้ๆ

-------------------------------------- @ ^ - ^ @ -----------------------------------------
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : 
http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=2121&s=tblplant#

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น