วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทำความรู้จักกับข้าวสาลี อีกครั้ง


ที่มาของข้าวสาลีในประเทศไทย

น้ำคั้นต้นอ่อนข้าวสาลีมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรบ้าง


 
 
                                                                                    
              Wheatgrass ต้นกล้าข้าวสาลี
 
                การปลูกวีทกลาสเพื่อคั้นน้ำ เป็นงานอดิเรกที่น่าทำอย่างมาก เพราะวีทกลาสเป็นพืชที่อุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ และ โปรตีนที่จำเป็นต่อร่างกาย  จากการวิจัยยังพบว่าวีทกลาสเป็นแหล่งอาหารที่มี คลอโรฟิลล์วิตามินบี-6 วิตามินบี-12 วิตามินเค วิตามินซี และ เบตาคาโรทีน(สารตั้งต้นของวิตามินเอ)ในปริมาณสูง  นอกจากคุณจะได้ความเพลิดเพลินจากการปลูกวีทกลาสแล้ว คุณยังได้รับคุณประโยชน์อีกมากมายจากน้ำคั้นวีทกลาส 

คุณประโยชน์จากน้ำคั้นวีทกลาส

        เป็นแหล่งที่มาของคลอโรฟิลล์    คลอโรฟิลล์ในน้ำคั้นวีทกลาสเป็นคลอโรฟิลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ซึ่งจะมีคุณสมบัติที่เหนือกว่าคลอโรฟิลล์แบบเม็ดมากมาย  คลอโรฟิลล์มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
•      คลอโรฟิลล์ ช่วยร่างกายล้างพิษที่ตับ
•      คลอโรฟิลล์ ช่วยล้างพิษในเนื้อเยื่อต่างๆ
      คลอโรฟิลล์ ช่วยฟอกมลภาวะและฟื้นฟูระบบหลอดเลือด เพราะโมเลกุลของมันคล้ายโมเลกุลของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือด
•      คลอโรฟิลล์ มีฤทธิ์ต้านเชื้อโรคโดยเฉพาะเชื้อที่เป็นอันตราย
•      คลอโรฟิลล์  ช่วยลดปริมาณน้ำตาลในเลือด
•        เป็นแหล่งที่มาของแร่ธาตุที่สำคัญ  จากการวิจัยพบว่าในวีทกลาส ที่ปลูกแบบธรรมชาติ(Organic) จะมีแร่ธาตุมากกว่า 100 ตัวที่มนุษย์ต้องการในนั้น   และ 90%ของแร่ธาตุนี้มาจากดินที่ใช้ปลูก
•        น้ำคั้นวีทกลาส ช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น
•        น้ำคั้นวีทกลาส ช่วยกระตุ้นให้เรามีพลัง ทำงานได้ดีขึ้น หลับได้สนิท 

วิธีปลูกวีทกลาส

•        การเลือกภาชนะที่จะใช้ปลูก
            ที่จริงแล้วเราสามารถใช้ภาชนะอะไรก็ได้มาปลูกวีทกลาส ไม่ว่าจะเป็นขันน้ำเก่าๆ หม้อเก่าๆ ถาด  กล่องพลาสติค กะละมัง หรือกระถาง ขอเพียงให้มีความสูงเพียงพอคือประมาณ 3 นิ้ว       นำดินดีๆมาใส่ให้ดินมีความหนาต่ำกว่าขอบ 1นิ้ว  ดินที่ใช้ควรรดน้ำให้มีความชื้นพอประมาณ อย่าให้แฉะ  และควรเป็นดินที่ไม่มีสารเคมีปนเปื้อนไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าแมลง 
•        การปลูก
เมล็ดพันธุ์ข้าวสาลี   คุณสามารถหาซื้อได้จากร้านที่ขายธัญพืชสำหรับทำน้ำRCทั่วไป  ยังมีที่ตลาดอตก.  ร้านมังสวิรัติของพลตรีจำลอง จตุจักร  ร้านพลังบุญ สุขาภิบาล 3  ซึ่งนอกจากจะปลอดภัยแล้วยังมีราคาถูก ไม่จำเป็นต้องไปหาจากร้านขายเมล็ดพันธุ์พืช และอาจจะหาไม่ได้อีกด้วย
วิธีปลูก  ง่ายมากเพียงแค่โรย เมล็ดข้าวสาลีลงบนดินที่เตรียมไว้ แล้วเกลี่ยให้เรียบ อย่าให้เมล็ดซ้อนทับกัน  กดให้เมล็ดจมดินเล็กน้อย แล้วนำดินมาโรยกลบบางๆ รดน้ำให้ชื้นพอหมาดๆ  เมืองไทยไม่มีปัญหาเรื่องความชื้นไม่เพียงพอ จึงควรระวังว่าจะรดน้ำมากไปจนแฉะ ทำให้รากเน่าได้  
 
         
 
        3 4 วันต่อมา
ต้นกล้าวีทกลาส จะเริ่มงอกให้เห็น  ควรจะเริ่มนำไปตั้งให้รับแสงแดดในที่ๆอากาศถ่ายเท  เพราะแสงแดดและออกซิเจนในอากาศเป็นองค์ประกอบหลักที่วีทกลาสใช้สร้างคลอโรฟิลล์ และยังทำให้วีทกลาสที่ปลูกมีใบอวบหนา   วีทกลาสที่ปลูกในที่ที่มีแสงไม่เพียงพอจะมีสีที่ซีดใบผอมบาง 
•       7 10 วัน
ช่วงเวลาสำหรับการเก็บเกี่ยว  วีทกลาสในช่วงเวลานี้มีความสูงที่เหมาะสมที่จะตัดมาทำน้ำคั้นวีทกลาส   เราสามารถตัดซ้ำอีกรอบสองรอบถ้าปลูกด้วยวิธีที่แนะนำนี้  ดังนั้นเพื่อให้มีผลผลิตที่เพียงพอสำหรับทานทุกวัน  คุณควรจะปลูกหลายๆรุ่นเว้นช่วงห่างกัน 2- 3 วัน 
หมายเหตุ  หนังสือหลายเล่มแนะให้เก็บเกี่ยวประมาณวันที่ 8 
ด้วยวิธีง่ายๆเท่านี้ คุณก็สามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ ด้วยตัวคุณเอง
 
เรียบเรียงโดย :  ทพ.จักรชัย ทพญ. ภัทรา สมพลพงษ์ 
สนับสนุนโดย : บริษัท  กู๊ดเฮลท์ (ประเทศไทย) จำกัด
ขอขอบคุณ  คุณ สมเกียรติ   แสงสุเรนทร์  ที่ช่วยแนะนำข้อมูลเมล็ดพันธุ์ข้าวสาลี

 

            น้ำคั้นวีทกลาสมีแร่ธาตุที่มีประโยชน์ไม่ต่ำกว่า 90 ชนิด ตั้งแต่  แคลเซียม , แมกนีเซียม , โปตัสเซียม , เหล็ก และ โซเดียม มีกรดอะมิโนไม่ต่ำกว่า 20 ชนิด  และมีเอนไซม์ไม่ต่ำกว่า 30 ชนิด   น้ำคั้นวีทกลาส ช่วยให้ระบบการทำงานของร่างกายดีขึ้น  ช่วยระบบการย่อยอาหาร  ช่วยในเรื่องของการเผาผลาญพลังงานและอาหาร  ช่วยในเรื่องการแลกเปลี่ยนออกซิเจน  และช่วยระบบควบคุมต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น 
            มีการใช้น้ำคั้นวีทกลาสกันมานานแล้วสำหรับทำความสะอาดระบบเลือด  น้ำคั้นวีทกลาส ยังช่วยชะล้างสารพิษออกจากร่างกาย  นอกจากนี้ในน้ำคั้นวีทกลาส เรายังพบสารซาโปนิน (Saponin) ซึ่งมีฤทธิ์กำจัดสารพิษออกจากร่างกายในระดับเซลล์และจากระบบน้ำเหลืองของร่างกาย
            น้ำคั้นวีทกลาสมีคลอโรฟิลล์ซึ่งมีออกซิเจนมาก  ช่วยให้สมองและเนื้อเยื่อมีออกซิเจนที่พอเพียง  ทำให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            น้ำคั้นวีทกลาส จัดเป็นอาหารที่มีคุณค่าสูง   วีทกลาส หนักเพียง 15 ปอนด์  มีคุณค่าเทียบเท่าผักสดทั่วไปน้ำหนัก 350 ปอนด์  น้ำคั้นวีทกลาส ไม่มีอันตราย เพราะเป็นของธรรมชาติ และยังอุดมไปด้วยวิตามิน เอนไซม์ ที่ยังมีชีวิต  ร่างกายสามารถนำไปใช้งานได้ทันที
ส่วนประกอบที่พบในน้ำคั้นวีทกลาส
วิตามิน                 : วิตามินเอ , วิตามินบี , วิตามินซี , วิตามินอี
คลอโรฟิลล์           : มีคลอโรฟิลล์ถึง 70% ซึ่งคลอโรฟิลล์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ  สามารถช่วยปกป้องเราจากสารก่อมะเร็งต่างๆ  ช่วยทำความสะอาดระบบหมุนเวียนโลหิต  ช่วยลดพิษจากมลภาวะต่างๆ  นอกจากนั้นในวีทกลาส ยังมีสารประกอบซึ่งช่วยกำจัดพิษจากตับ  และส่งเสริมการทำงานของตับ
คลอรีน               : ช่วยลดการสะสมของไขมัน
แมกนีเซียม        : ช่วยกำจัดไขมันส่วนเกิน
อะมิโนแอซิด      : เป็นองค์ประกอบหลักของโปรตีน ใช้สำหรับการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและสร้างเซลล์ใหม่ ในน้ำคั้นวีทกลาสมีอะมิโนแอซิดมากมายดังนี้
Absensic, Alanine, Arginine, Aspartic, Histidine, Isoleucine, Leucine, Lysine, Methionine, Phenylanine, Proline, Serine, Threonine, Tryptophan, Valine
เอนไซม์          : เป็นองค์ประกอบหลักของขบวนการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย      เอนไซม์ที่ค้นพบในน้ำคั้นวีทกลาส ดังนี้
Protease, Amylase, Superoxde Dismutase, Cytrochrome Oxidase , Transhydrogenase, Lipase
  ยิ่งอ่านท่านผู้อ่านยิ่งพบว่า น้ำคั้นวีทกลาส เป็นอาหารที่มีคุณค่ามากที่สุดชนิดหนึ่ง  และก็มีผลการวิจัยก็ยืนยันเรื่องนี้  จนทำให้ผู้เขียนอยากจะถามท่านผู้อ่านว่า วันนี้คุณคิดทำน้ำคั้นวีทกลาส ทานเองกันหรือยัง

เรียบเรียงโดย
บริษัท กู๊ดเฮลท์ (ประเทศไทย) จำกัด
********************************** 

ขอบคุณ http://www.rakbankerd.com



การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวสาลี

การเลือกพันธุ์

จะต้องเลือกพันธุ์ข้าวสาลีให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์ พันธุ์ข้าวสาลีที่เหมาะสำหรับปลูกในประเทศไทย มีดังนี้

สะเมิง ๑ (INIA ๖๖) เหมาะสำหรับปลูกในภาคเหนือตอนบน ค่อนข้างต้านทานโรคราสนิมใบ ให้แป้งอเนกประสงค์ที่มีคุณภาพดี มีโปรตีนสูง (๑๒-๑๕%) เหมาะสำหรับทำขนมปัง

สะเมิง ๒ (Sonora ๖๔) เป็นข้าวสาลีพันธุ์เบา ทนร้อน เหมาะสำหรับปลูกในสภาพไร่อาศัยน้ำฝน และปลูกหลังนาปี ไม่ต้านทานโรคราสนิมใบ แป้งมีความยืดหยุ่นปานกลาง แป้งมีสีคล้ำ มีโปรตีนสูง (๑๒-๑๔%) แป้งใช้ทำขนมปังได้

ฝาง ๖๐ (# ๑๐๑๕) เหมาะสำหรับปลูกในที่ร้อนและแห้งแล้ง ทั้งในสภาพไร่อาศัยน้ำฝน และสภาพนาชลประทานในภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีช่วงฤดู หนาวสั้น ค่อนข้างต้านทานโรคราสนิมใบ ให้แป้งอเนกประสงค์ โปรตีนปานกลาง (๑๐-๑๑%) เหมาะสำหรับทำคุกกี้ บิสกิต และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ต้องการแป้งที่เหนียวมาก

แพร่ ๖๐ (UP ๒๖๒) เหมาะสำหรับปลูกในเขตชลประทานที่เป็นสภาพนาดินเหนียวปนทราย ภูมิอากาศค่อนข้างหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ค่อนข้างต้านทานโรคราสนิมใบ ให้แป้งอเนกประสงค์ มีโปรตีนปานกลาง (๑๐-๑๑%) เหมาะสำหรับทำคุกกี้ ปาท่องโก๋ โรตี

อินทรี ๑ (KU HR # ๑๒) เหมาะสำหรับปลูกในเขตชลประทาน ใช้ทำแป้งอเนกประสงค์ได้

อินทรี ๒ (KU HR # ๖) ทนอากาศร้อนและแห้งแล้งได้ดี ใช้ทำแป้งอเนกประสงค์ได้

การเตรียมเมล็ดพันธุ์

เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ต้องมีความงอกไม่ต่ำกว่า ๘๐% นำเมล็ดพันธุ์ใส่อ่างแช่ในน้ำสะอาด ตากแดดนาน ๑๕ นาที เอาเมล็ดขึ้นเกลี่ยบนผ้าใบหรือผ้าพลาสติก ตากแดดจนแห้งสนิท แล้ว เอาไปปลูกทันที ห้ามเก็บเมล็ดข้ามวัน ถ้าไม่ทำดังกล่าว จะใช้เมล็ดแห้งปลูกก็ได้

ใช้สารเคมีจำนวน ๒ ชนิด คลุกเมล็ดก่อนปลูก โดยผสมเข้าด้วยกัน ได้แก่

๑. คาร์โบซัลฟาน (carbosulfan) เป็นสารเคมีป้องกันแมลงที่อยู่ในดิน ใช้ในอัตรา ๕ กรัมต่อน้ำหนักเมล็ดข้างสาลี ๑ กิโลกรัม

๒. คาร์บ็อกซิน (carboxin) เป็นสารเคมีป้องกันโรคต้นแห้งอันเกิดจากเชื้อรา ใช้ในอัตรา ๐.๕-๒.๕ กรัมต่อเมล็ดหนัก ๑ กิโลกรัม

occupation Pak Wan บ้านแสนสุข :: Ban San Suk.com

ปลูกผักหวานป่ากันดีกว่ามั้ย

ขอบคูณข้อมูลจาก bansansuk.com 
occupation Pak Wan บ้านแสนสุข :: Ban San Suk.com

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การทำเกษตรแบบพอเพียง โดยใช้ปุ๋ยใส้เดือนบำรุงดิน

บ้านของดีมี ..อะไร

บ้าน ของดีเกิดขึ้นเพราะเราอยากมีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อน ลดการใช้สารเคมี และปรับปรุงบำรุงดินให้เหมาะแก่การเกษตร ตามวิถีไทย จากการที่เราทำงานตามที่เราได้เรียนมาทั้งวัน และใช้ชีวิตตามสภาพชุมชนเมือง รู้สึกว่าร่างกายของเราล้าลงมาก อาหารที่ได้รับประทานก็ถูกสร้างขึ้นโดยวิธีที่ทันสมัย แต่ซ่อนไว้ด้วยสิ่งที่เป็นอันตรายทั้งสิ้น การใช้เวลาว่าง การออกกำลังกาย หรืองานอดิกเรกต่างๆ ก็น้อยลง แต่เมื่อเราได้ใช้เวลาช่วงหนึ่ง ศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนชานเมือง และวิถีชีวิตของพวกเขาเหล่านั้น ทำให้เราเริ่มรู้สึกอยากทำอะไรใหม่ขึ้นมา ซึ่งอาจเป็นงานท้าทาย และเป็นงานใหม่สำหรับเรา โดยเราเริ่มหาความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ การผลิตปุ๋ยธรรมชาติ การปลูกพืชโดยไม่ใช้สารเคมี การเลี้ยงสัตว์ตามวิถีชุมชน ฟังดูเหมือนการย้อนยุคยังไงไม่รู้ ลองดูแล้วกันนะครับ
เรา เริ่มศึกษาเกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ การเลี้ยงไส้เดือน เพื่อผลิตมูลไส้เดือน และน้ำหมักมูลไส้เดือน แล้วนำมาใช้กับต้นไม้ภายในบ้านพักของเราเอง โดยงดการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ปุ๋ยเคมี เลย ผลก็คือ ภาพต้นไม้ที่ได้รับอินทรีย์วัตถุจากการผลิตโดยใช้ สิ่งที่มีในชุมชน เช่น มูลวัว มูลแพะ มูลกวาง มูลสัตว์อื่นๆ ใบไม้ต่างๆที่หล่นมาที่พื้นดิน เศษอาหาร เศษผลไม้ที่เหลือจากการรับประทานก็สามารถนำมาหมักและเป็นแร่ธาตุที่ดีสำหรับ พืชด้วย

ส่วน การผลิตมูลไส้เดือนมาใช้นั้น เริ่มต้นจากเราเริ่มหารวิธีผลิตอินทรีย์วัตถุที่สามารถนำมาใช้กับพืชได้ จากการค้นหาเราก็พบว่ามีหลักสูตรการฝึกอบรมการเลี้ยงใส้เดือน ของภาควิชาสัตว์บาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ความคิดที่อยากรู้ว่าเป็นอย่างไร ทำไมต้องเลี้ยงไส้เดือน เลี้ยงไส้เดือนมันยากแค่ไหน เลี้ยงแล้วได้อะไร ทำอะไรได้บ้าง สรุปเราสมัครเข้ารับการอบรมในรุ่นที่ 14 ประมาณ เดือนมีนาคม 2551 (หลักสูตร 2 วันเต็ม) หลังจากนั้นเราเริ่มเลี้ยงไส้เดือนเป็นสัตว์เลี้ยงประจำบ้าน หลายคนในบ้าน และใกล้บ้าน เริ่มสงสัยว่า ทำไมเราเลี้ยงสัตว์แปลกแบบนี้ ซึ่งบางคนไม่กล้าแม้กระทั่งมอง แต่เราขอบอกว่าสิ่งที่เราเริ่มเลี้ยงนี้มีประโยชน์หลายอย่าง มาก
หลังจาก เราเริ่มเลี้ยงได้ประมาณ 3 เดือน เราได้ผลผลิตจากไส้เดือน คือ มูลไส้เดือน น้ำหมักมูลไส้เดือน และลูกๆ หลานๆ ไส้เดือน จำนวนหนึ่ง เราเริ่มนำมูลไส้เดือน และน้ำหมักมูลไส้เดือน มาใช้กับไม้ผล และไม้ประดับ ในบ้าน ได้ผลดีมากครับ จากกล้วยไม้หวายที่เลี้ยงมา ประมาณ 1-2 ปี ที่โทรม ก้านที่แตกออกมาผอม ดอกที่ออกมาเพียง 3-7 ดอก/ช่อ และดูไม่ค่อยสมบูรณ์ แต่หลังจากใช้น้ำหมักมูลไส้เดือน ประมาณ 2-3 สัปดาห์ การเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้น กิ่งที่แตกออกมาใหม่เริ่มอวบอ้วนขึ้น ช่อดอกที่ออกมาเริ่มมีดอกมากขึ้น ช่อใหญ่ขึ้น ความสมบูรณ์ของใบ และลำต้นดูสดใส กว่าแต่ก่อนอย่างชัดเจน ส่วนมูลไส้เดือนนั้นลองใส้ในไม้ผล โดยแก้วมังกรที่ปลูกในกระถางมากว่า 2 ปี ไม่เคยมีผลให้เชยชม แต่ปีนี้เรากับได้เห็นดอก และผล แทบทุกกิ่ง และผลแต่ละผลนั้นใหญ่ สมบูรณ์มากครับ ต้นไม้อย่างต้นลำดวน ที่ปลูกมากว่า 3 ปีนั้น จากที่ทรงๆไม่โต และก็ไม่ตายนั้น หลังจากได้มูลไส้เดือน และน้ำหมักมูลไส้เดือน ประมาณ 2-3 เดือน เริ่มแตกยอด และดูเหมือนมันเริ่มฟื้นคืนชีพ และสดชื่นขึ้น (อาจเป็นเพราะดินในหมู่บ้านจัดสรรเดิม ขุดดินเหนียว หรือดินไม่ดีมาจัดสวนใหเราก็เป็นได้) เมื่อเริ่มใช้อินทรีย์วัตถุมาเป็นแร่ธาตุให้พืช และช่วยปรับโครงสร้างของดินให้ร่วนซุย เก็บความชึ้นได้ดี มีธาตุอาหารสมบูรณ์ ดินในพื้นที่บ้านเราก็เริ่มดี

ถึงวันนี้เราเริ่ม พัฒนา และขยายการผลิต อินทรีย์สารต่างอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเราเริ่มดำเนินการสร้างฟาร์มไส้เดือน เพื่อผลิตมูลไส้เดือน น้ำหมักมูลไส้เดือน และพ่อแม่พันธุ์ไส้เดือน เพื่อใช้ในการเกษตร โดยเราจัดการแบ่งพื้นที่ๆมีอยู่ 4.5 ไร่ เป็นบ่อน้ำ และเลี้ยงปลาประมาณ 200 ตร.วา บริเวณบ้านพักอาศัย ประมาณ 200 ตร.วา โรงเรือนเลี้ยงไส้เดือน ประมาณ 1 ไร่ ส่วนที่เหลืออีก 2 ไร่กว่า เราเริ่มต้นทำสวนผลไม้ และไม่ใบต่าง เช่น มะม่วง มะยงชิด กระท้อน สะเดามัน แก้วมังกร กล้วย และพืชผักสวนครัวต่างๆอีกมากมาย ขาดอย่างเดียวคือ นาข้าว ซึ่งถ้ามีโอกาสเราก็อยากทำเพื่ออย่างน้อย ก็สามารถอยู่ได้โดยดำเนินตามแนวทาง "พอเพียง" ของในหลวงท่าน

สำหรับ ผู้ที่สนใจเลี้ยง หรือหน่วยงาน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เทศบาล ที่ต้องการข้อมูลในการเลี้ยงเพื่อกำจัดขยะสด ขยะอินทรีย์ในพื้นที่ ติดต่อได้ที่ 086-889-9958 บริการให้คำปรึกษา ออกแบบ และดำเนินการบริหารโครงการ

ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล

http://www.baankhongdee.pantown.com/

เทคโนโลยีการเกษตร ต้นอ่อนทานตะวัน



เทคโนโลยีการเกษตร
องอาจ ตัณฑวณิช ชมรมการจัดการทรัพยากรเกษตร ongart04@yahoo.com โทร. (081) 909-8117

เมล็ดทานตะวันงอก คุณค่าอาหารสูง
ใน บรรดาของงอกๆ ทั้งหลาย ที่เพาะขึ้นมาจากเมล็ดถั่วที่เราคุ้นเคยกัน คือ ถั่วงอก แต่ถั่วงอกก็ไม่น่าใช่ผักของคนไทย น่าจะเป็นวัฒนธรรมการบริโภคของจีน เดี๋ยวนี้ถั่วงอกขึ้นโต๊ะเป็นเมนูอาหารไทยไปแล้ว ผัดไทยเอย ก๋วยเตี๋ยวเอย ถั่วงอกผัดเต้าหู้เอย พอมาตอนหลังเมล็ดธัญพืชงอกก็ปรากฏกันหลากหลาย เช่น ถั่วงอกหัวโต ซึ่งเพาะจากเมล็ดถั่วเหลือง ถั่วงอกจากถั่วลิสง โต้วเหมี่ยว ซึ่งเพาะจากเมล็ดถั่วลันเตา และข้าวกล้องงอก ซึ่งยังฮิตติดลมบนอยู่ในขณะนี้ ผักประเภทนี้กรรมวิธีค่อนข้างสะอาด เพราะแทบจะไม่ได้สัมผัสดินเลย ส่วนใหญ่จะเพาะในตะกร้า ทำอยู่ในโรงเรือน ถือเป็นผักอนามัยได้ทุกชนิด ยกเว้นแต่ถั่วเขียวงอก ซึ่งกรรมวิธีสะอาด แต่ก่อนนำมาขาย เขาจะทำด้วยกรรมวิธีอะไรก็ไม่รู้ ถั่วงอกจึงขาวสะอาดและคงทนได้นานหลายวัน อันนี้ไม่ขอรับประกันว่าเป็นผักอนามัย

กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของถั่วงอก พบว่า ร้อยละ 90 ของถั่วงอก คือ น้ำ ให้โปรตีนแค่ 2.8 มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสเล็กน้อย เพราะฉะนั้นที่ว่าถั่วงอกมีคุณค่าทางอาหารมากนั้นไม่จริง คุณค่าที่กินถั่วงอก คือทำให้อิ่มเพื่อจะไม่ให้กินอาหารที่มีโปรตีนและไขมันจากสัตว์มากเกินไป การกินถั่วงอกมีเหตุผล 3 ประการ คือ ความกรุบกรอบของต้นเป็นอันดับแรก อันดับสอง ทำให้อิ่ม อันดับสาม คือให้ความสดชื่น เพราะมีน้ำอยู่ในต้นมาก การกินถั่วงอกคือการที่ผู้กินต้องการอาหารที่มีแคลอรีต่ำ ซึ่งเหมาะสำหรับคนลดความอ้วนนั่นเอง


อาหารฟื้นฟูสุขภาพ

ต้น อ่อนทานตะวัน (Sunflower Sprout) เป็นเมล็ดงอกตัวใหม่ที่ไม่ใช่ธัญพืช ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก เมล็ดทานตะวันงอกมีโปรตีนสูงกว่าถั่วเหลือง มีวิตามินเอ และวิตามินอีสูง บำรุงสายตา ผิวพรรณและชะลอความชรา มีวิตามิน บี 1 บี 6 โอเมก้า 3 โอเมก้า 6 โอเมก้า 9 ซึ่งช่วยบำรุงเซลล์สมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์) และธาตุเหล็กสูง

นอกจากนี้ ในเมล็ดทานตะวัน 100 กรัม จะให้พลังงานแก่ร่างกาย 500 กิโลแคลอรี โปรตีน 23 กรัม ไขมัน 50 กรัม แคลเซียม 14.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 19 กรัม สังกะสี 5 มิลลิกรัม โพรแทสเซียม 690 มิลลิกรัม

ไขมันที่อยู่ในเมล็ดทานตะวัน จะเป็นไขมันที่ไม่อิ่มตัว ประกอบด้วยวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี วิตามินอี และไนอะซิน ต้นอ่อนทานตะวันหรือเมล็ดทานตะวันงอก ใช้เป็นอาหารสุขภาพ มีกลิ่นหอมคล้ายใบบัวบก รสหวานกรอบ รับประทานได้ทั้งสด เช่น จิ้มน้ำพริก เป็นผักสลัด หรือปรุงเป็นอาหาร เช่น ผัดน้ำมันหอย แกงจืด แกงส้ม ใส่ในก๋วยเตี๋ยวแทนถั่วงอก แล้วแต่คิดถึงเมนูไหน หรือนำมาปั่นเป็นน้ำผักดื่ม ก็จะได้น้ำผักสีเขียวเข้ม กลิ่นหอม แต่ควรดื่มก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง ตอนท้องยังว่างอยู่ จะมีประโยชน์ต่อร่างกายมาก เพราะมีวิตามินและเอ็นไซม์สูง


ต้นทานตะวัน ปรับภูมิทัศน์

ต้น ทานตะวันเองเป็นดอกไม้ที่มีดอกสวยงาม ถ้าปลูกกันเป็นแปลงใหญ่ เพราะดอกจะบานรับแสงแดดทางทิศตะวันออกเสมอ ทุกดอกจะบานไปทางเดียวกัน เราจะเห็นถึงความพร้อมเพรียง ถ้าบ้านเราทุกคนพร้อมเพรียงหันหน้าไปทางเดียวกัน มุ่งมั่นจะให้ประเทศเราไปข้างหน้าเหมือนทานตะวันก็จะดีไม่น้อย ผมว่าการปรับฮวงจุ้ยหน้าทำเนียบฯ ไม่ต้องเอาสวนอะไรเข้าไปปรับหรอก ติดต่อคุณเทพเทือกเขายายเที่ยง พรรคพวกผม หาที่ว่างๆ ปลูกทานตะวันสักแปลง พอดอกบานหันไปทางเดียวกันก็เกณฑ์บรรดาท่าน ส.ส. และ ส.พ. ต่างๆ มายืนหันหน้าไปทางทิศเดียวกับทานตะวัน เพื่อเป็นอนุสติให้คิดถึงความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน แล้วร้องเพลงสยามานุสติ ?อันสยามเป็นบ้านเกิดเมืองนอน ดุจบิดามารดรเปรียบได้?? หรือร้องเพลง ?คนไทยหรือปล่าวววววววววว? ของ พี่แอ๊ด เผื่อจะซึมผ่านเข้าไปสู่หัวใจของ พณหัวเจ้าท่านเหล่านั้นได้ ติดต่อขอเมล็ดพันธุ์จาก บริษัท แปซิปิค เมล็ดพันธุ์ จำกัด เขาคงไม่ใจจืดใจดำหรอก ใช้ไร่ละกิโลฯ เอง คูโบต้าเองก็พร้อมไถ พร้อมหว่าน ช่วยกันขนาดนี้แล้ว จะเอายังไงอีก

ต้นอ่อนทานตะวัน

ของฟาร์มคุณพ่อ หมอบุญญวัตน์


นาย สัตวแพทย์บุญญวัตน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผลิตมาจำหน่ายจำนวนไม่มาก แต่วัตถุประสงค์ของการผลิตเพื่อต้องการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเพาะต้น อ่อนทานตะวันมากกว่า และเพื่อให้เพาะเมล็ดทานตะวันรับประทานกันเองในครอบครัว ซึ่งได้ทั้งงานอดิเรกและเพื่อสุขภาพ

วิธีการเพาะ ทำอย่างไร

นาย สัตวแพทย์บุญญวัตน์ ได้มีการทดลองใช้วัสดุในการเพาะหลายอย่าง เช่น ทราย ขุยมะพร้าว แกลบดำ จนกระทั่งถึงใยสังเคราะห์ แต่มาจบลงได้ที่ถุงเพาะเห็ดเก่าที่เขาทิ้งแล้ว รับซื้อในราคาถุงละ 25 สตางค์ เพราะเป็นวัสดุปลูกที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น แถมเปอร์เซ็นต์การงอกดีอีกด้วย และความสมบูรณ์ของต้นก็ดีกว่าวัสดุตัวอื่น เมื่อได้ถุงเห็ดมาแล้วก็นำมาแกะพลาสติคออก นำมาบี้ให้แตกออก แล้วใช้ตะกร้าพลาสติคร่อนเอาเฉพาะส่วนที่ละเอียด นำกระดาษหนังสือพิมพ์ปูในตะกร้าพลาสติคขนาดกลางรองให้เต็มตะกร้า นำวัสดุปลูกเห็ดที่ร่อนดีแล้วมาใส่ สูงประมาณครึ่งตะกร้า ปรับวัสดุปลูกในตะกร้าให้เสมอ นำตะกร้าพลาสติคขนาดเท่ากันมาอีกใบ ซ้อนไว้บนตะกร้าที่ใส่วัสดุปลูก โรยเมล็ดทานตะวันลงไปในตะกร้าบนแล้วเกลี่ยเมล็ดให้ทั่ว จึงยกตะกร้าออก ซึ่งจะมีเมล็ดทานตะวันค้างบ้างบางส่วน จะใช้วิธีแคะตะกร้าเบาๆ เมล็ดทานตะวันก็จะร่วงลงไป วิธีนี้เมล็ดทานตะวันจะกระจายทั่วหน้าตะกร้ากว่าการที่เราจะโรยลงไปที่วัสดุ ปลูกโดยตรง ขั้นตอนต่อไปก็จะโรยวัสดุปลูกปิดหน้าเมล็ด ก็จะนำวัสดุปลูกมาโรยบางๆ ผ่านตะกร้าเดิมเกลี่ยให้กระจายและเคาะลงไป พอกลบเมล็ดทานตะวันไว้อย่าให้หนามาก แล้วรดน้ำด้วยฝักบัวรดน้ำฝอยให้ชุ่ม นำมาวางไว้ในที่ร่ม รดน้ำ วันละ 3 ครั้ง เหมือนกินยา เช้า กลางวัน เย็น ประมาณ 4-5 วัน แล้วค่อยนำมาออกแดดซึ่งผ่านซาแรน ใช้เวลา 1-2 วัน ช่วงนี้จะใช้ปุ๋ยนมสดรด 1 ครั้ง จะได้ต้นที่เขียว ใบอวบ และใบที่แตกออกมาจะดีดเปลือกของเมล็ดออกมาเอง ถ้าเพาะแล้วนำมาออกแดดเลยต้นจะสั้นไม่สวยงาม


การเก็บเกี่ยว

เมื่อ ครบอายุ 5-6 วัน ต้นทานตะวันงอกก็สมบูรณ์พร้อมจะเก็บเกี่ยว โดยจะใช้มือรวบต้นมาจำนวนหนึ่งแล้วใช้กรรไกรตัดรากออก นำไปแช่ในกะละมังที่ใส่น้ำไว้แล้ว นำมาผึ่งไว้ในตะกร้า แล้วจึงนำมาบรรจุใส่ถุงนำเข้าไปไว้ในตู้เย็น จะสามารถเก็บความกรอบของต้นทานตะวันงอกได้นานถึง 1 สัปดาห์ ส่วนวัสดุปลูก จะนำไปกองไว้ หรือใส่ในวงท่อเพื่อไม่ให้กระจัดกระจายดูไม่สะอาดตา ผสมกับมูลสัตว์อะไรก็ได้ที่สามารถหาได้ง่ายๆ ในท้องถิ่น แล้วนำปุ๋ยนมสดรด สัปดาห์ละครั้ง จะกลับกองปุ๋ยหรือไม่ก็ได้ ประมาณ 1 เดือน เราก็จะได้ปุ๋ยหมักสำหรับใช้ในสวนได้อีก เท่าที่สังเกตวิธีคิดของนายสัตวแพทย์บุญญวัฒน์ สังเกตว่า ท่านจะคิดอะไร ก็จะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมาก โดยมักจะนำสิ่งที่เหลือใช้มาเป็นประโยชน์ได้อีกดังเช่นวิธีนี้ คือ เมื่อได้ประโยชน์จากเห็ดแล้ว ก็จะนำก้อนเชื้อเห็ดที่ดูแล้วไม่มีประโยชน์มาเพาะเมล็ดทานตะวัน พอเพาะเสร็จสรรพ ตัดต้นทานตะวันงอกออก ก็นำก้อนเชื้อเห็ดที่ใช้นั้นมาหมักเป็นปุ๋ยหมักได้อีก โดยเป็นการใช้ประโยชน์จากวัสดุนี้จนถึงที่สุดแล้ว ไม่เหลือเป็นมลพิษอีกต่อไป


เมล็ดพันธุ์ต้นทานตะวันที่ใช้เพาะ

ใน ปัจจุบัน เมล็ดพันธุ์พืชผักที่เกษตรกรใช้อยู่ ร้อยละ 90 จะเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ได้จากการผสมพันธุ์ขึ้นจากบริษัทจัดทำขึ้น ซึ่งแน่นอนเมล็ดพันธุ์เหล่านั้นไม่สามารถสืบต่อลูกหลานไปได้อีก เนื่องจากกรรมวิธีการผลิตจากเทคโนโลยีชั้นสูง เมื่อเกษตรกรไม่สามารถคัดพันธุ์ได้จากแปลงปลูกของตนเอง ซึ่งสมัยก่อนจะมีการเก็บเมล็ดพันธุ์พืชไว้เพื่อปลูกในฤดูถัดไป จึงทำให้เกษตรกรต้องพึ่งผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ ล้วนแต่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งสิ้น ซึ่งบางบริษัทก็เป็นบริษัทข้ามชาติ การที่ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ทุกครั้งที่ปลูกพืช ทำให้เกษตรกรต้องพึ่งพาผู้อื่น ลดการพึ่งพาตัวเองไป เมล็ดพืชพรรณที่เคยเห็น เมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว เคยแขวนอยู่ในกระบุง กระจาด เอาไว้ทำพันธุ์ เดี๋ยวนี้ไม่เห็นมี แต่กลับไปแขวนอยู่ตามหน้าร้านค้าในตลาดแทน เมล็ดพันธุ์ทานตะวันที่ใช้ทำเมล็ดทานตะวันงอกในปัจจุบันก็เช่นกัน ไม่สามารถนำเอาเมล็ดพันธุ์ที่นิยมปลูกกันแถวสระบุรี ลพบุรี ซึ่งเป็นพืชน้ำมันนั้นมาเพาะได้ เนื่องจากเป็นคนละชนิดกัน แต่ถ้าย้อนยุคไปหลายสิบปีก่อน เราจะมีทานตะวันพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งรังเกียจกันหนักหนาว่าดอกเล็ก ไม่ค่อยมีเมล็ดนั้นยังอยู่ เราก็ไม่ต้องเสียดุลการค้าให้กับประเทศจีนด้วยการซื้อเมล็ดทานตะวันจากเมือง จีนมาเพาะให้กินกันหรอก ปัจจุบันเสาะหากันยากพอสมควรสำหรับทานตะวันพื้นเมือง ส่วนของเมืองจีนที่เพาะให้รับประทานกันทุกวันนี้ คนขายบอกว่าเป็นพันธุ์ที่ปรับปรุงไว้สำหรับทำเมล็ดทานตะวันงอกโดยเฉพาะ และเก็บไว้ได้นานด้วย แต่พันธุ์พื้นเมืองเราเก็บไว้ได้ไม่นานนัก เปอร์เซ็นต์งอกค่อนข้างต่ำ จำเป็นต้องเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิต่ำ


ขอบคุณที่มาข้อมูล
มติชน วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 23 ฉบับที่ 489

ผัดต้นอ่อนทานตะวัน น่ากิน กับฤดูทานตะวันบาน

ผัดต้นอ่อนทานตะวัน น่ากิน กับฤดูทานตะวันบาน

ผัดต้นอ่อนทานตะวัน น่ากิน กับฤดูทานตะวันบาน
ใคร รักชอบดอกทานตะวัน ตอนนี้ที่ สระบุรี ลพบุรี เริ่มบานกันแล้ว ที่ไปดูมาล่าสุดที่ทุ่งทานตะวันชอนน้อย ลพบุรี ก็เลยขอแนะนำเมนูน่าสนใจเกี่ยวกับทานตะวันกันสักหน่อย คือ “ผัดต้นอ่อนทานตะวัน” น่าตาน่าทานมากๆ เห็นตอนแรกอย่างกับสปาเก็ตตี้ มองใกล้ๆ มันผักนี้ เวลากินนะ เอาส้อมม้วนๆๆๆ แล้วเอาเข้าปาก เหมือนสปาเก็ตตี้ ที่ทำอย่างนั้นเพราะต้นมันยาวแหละ เวลากินเลยต้องพิถีพิถันหน่อย
เมนูนี้ ไปกินกันได้ที่ ร้านครัวน้ำตก ในมวกเหล็ก สระบุรี นะครับ ส่วนร้านอื่นๆ ไม่แน่ใจ แต่ที่แน่ใจคือ เมนูนี้เฉพาะช่วงฤดูทานตะวันนี้เท่านั้นนะครับ ฤดูอื่นอย่างฤดูฝนไม่มีปลุกกันไม่น่าจะมีให้กิน

ดูๆไปมนก็คล้ายๆ ถั่วงอก แต่เส้นยาว เอ่ย!!..ไม่ใช่ ...ต้นยาวกว่ามากนะ เกิดมาไม่นานก็ต้องตายก่อนได้เห็นตะวันวะแล้วทานตะวันน้อย ใครรักใครชอบทานตะวัน จะกินลงมั๊ยนะ 
ลองไปกินกันได้ที่ ร้านอาหารครัวน้ำตก
เปิดบริการ ตั้งแต่เวลา 10.30 - 22.00 น.
หยุดทุกวันอังคารที่ 2 ของเดือน
ที่ตั้ง : 152/1 หมู่ 1 สายน้ำตกเจ็ดสาวน้อย มวกเหล็ก มวกเหล็ก สระบุรี 18180
ติดต่อสอบถาม โทร. 0-3622-7203,08-6131-0311,0-3634-1128
การเดินทาง
จากตัว เมืองสระบุรี ไปตามถนนมิตรภาพจนถึง กม.ที่142 (ร้านครูต้อ) จะเห็นทางแยกไปน้ำตกเจ็ดสาวน้อย เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 4 กิโลเมตร จะเจอแยกวังม่วง ตรงเข้าไปตามเส้นทางไปน้ำตกเจ็ดสาวน้อย อีกประมาณ 1 กิโลเมตร ร้านจะอยู่ทางขวามือ
แผนที่ จุดA แสดงที่ตั้งครัวมวกเหล็ก
Imagery ©2011 DigitalGlobe, Cnes/Spot Image, GeoEye, Map data ©2011 Tele Atlas - Terms of Use
Map
Satellite
Hybrid
Terrain


ขอบคุณที่มาข้อมูล


http://www.sadoodta.com/story/ผัดต้นอ่อนทานตะวัน-น่ากิน-กับฤดูทานตะวันบาน