วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการทำนาให้ได้ผลผลิตมากกว่า 1 ตัน/ไร่ด้วยจุลินทรีย์ง้วนดิน(ออร์แกนิคนาโน) การทำนา จุลินทรีย์ง้วนดิน การเกษตร

เกษตรแผ่นดินทอง :::: เทคนิคการทำนาให้ได้ผลผลิตมากกว่า 1 ตัน/ไร่ด้วยจุลินทรีย์ง้วนดิน(ออร์แกนิคนาโน) การทำนา จุลินทรีย์ง้วนดิน การเกษตร

สาเหตุของการเกิดสิว

สาเหตุของการเกิดสิว


แท้ จริงแล้วนั้นเกิดจากสาเหตุหลักๆก็คือ เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถขับของเสียได้ เลือดมีสิ่งปนเปื้อน มีมลพิษหรือความเป็นกรดสูง ปกติแล้วร่างกายเรา จะมีกระบวนการขับพิษได้ 4 ทางคือ
1.ไต จะเป็นตัวกรองสารพิษและขับออกมาทางปัสสาวะ
2.ลำไส้ใหญ่ ขับพิษออกทางอุจจาระ
3.ปอด ขับพิษออกโดยลมหายใจออก
4.ผิวหนัง ขับพิษออกทางเหงื่อ

ถ้า กระบวนการขับพิษผิดปกติ ปัสสาวะไม่ดี อุจจาระไม่ดี ท้องผูกเป็นประจำ ปอดขับพิษออกไม่ดี ก็เหลือแค่ทางผิวหนังที่สามารถขับของเสียออกมาได้ ดังนั้นไม่ว่า สิว ฝี ไฝ กระ หูด โรคผิวหนังต่างๆ แม้กระทั่งริดสีดวง ก็เกิดจากการที่ร่างกายพยายามขับพิษออกมาทั้งสิ้น



ลักษณะและสีของสิว จะสะท้อนถึงของเสียที่อยู่ภายในร่างกายของเรา จุดที่เกิดสิวก็จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าพิษนั้นอยู่ที่อวัยวะใด เช่น

สิว ที่แก้ม บอกให้รู้ว่าร่างกายกำลังพยายามกำจัดไขมันและมูกส่วนเกิน ที่มีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารที่ได้จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม น้ำมัน ไขมัน

สิวรอบๆ ปาก บ่งบอกถึงระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายที่เสียสมดุล กระเพาะมีแผล การอักเสบมีกรดในกระเพาะอาหารมาก

สิว ที่แก้ม บ่งบอกถึงว่าร่างกายมีการเก็บกรดไขมันและมูก เอาไว้มากเกินไปแล้ว โดยเฉพาะทรวงอก และบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ระวังเป็นซิสต์ เนื้องอกหรือมะเร็ง ที่อวัยวะดังกล่าวได้

สิวสีออกขาว สาเหตุคือนม และน้ำตาลมากเกินไป

สิวสีออกเหลือง สาเหตุคือ เนยแข็ง เนื้อเป็ด เนื้อไก่ และไข่มากเกินไป

สิวสีออกเขียวที่แก้ม แสดงว่ามะเร็งกำลังก่อตัวขึ้นที่เต้านม ปอด และลำไส้ใหญ่

สิวกลางหน้าผากตรงเหนือจมูกและอยู่ระหว่างคิ้ว สีขาว - แสดงว่ามีไขมันแข็งๆ พอกตับ หรือมีอาการก่อตัว
ของนิ่วในถุงน้ำดี

สีแดง - แสดงถึงตับและถุงน้ำดีที่ร้อน




การรักษา


1. ต้องทำการขับพิษออกจากร่างกาย โดย

1.1 อดอาหารโดยดื่มแต่น้ำหรือหรือน้ำผัก หรือน้ำผลไม้
1.2 งดอาหารมื้อเย็น โดยดื่มแต่น้ำผักหรือน้ำผลไม้
1.3 อบสมุนไพรหรืออบไอน้ำ
1.4 กินยาระบาย หรือยาถ่าย เอาของเสียออก
1.5 ใช้วิธีดีทอกซ์ (DETOX) โดยสวนทวารด้วยน้ำกาแฟ

2. ดื่มน้ำประมาณ 10 แก้วต่อวัน เพื่อหรือลดปริมาณตามน้ำหนักตัว
3. ต้องปรับระบบการย่อยอาหารให้ทำงานได้ดี
4. หลีกเลี่ยงน้ำเย็น,น้ำอัดลม, นมและผลิตภัณฑ์นม ,ของทอด ของมัน ,เนื้อสัตว์ ,ของหวาน
5. รับประทานผัก ผลไม้สด โดยเฉพาะบวบ มะเขือเทศ แครอท
6. เลิกใช้สารเคมีหรือใช้อย่างอ่อน ให้ใช้น้ำมะเฟือง และถั่วเขียวบดละเอียดล้างหน้าแทน
7. เมื่อสิวอักเสบ ใช้ก้อนน้ำแข็งคลึงบ่อยๆ
8. ควรมีการนวดกดจุด เพื่อให้เลือดจม น้ำเหลืองและลมปราณไหลเวียนได้ดี เปรียบเสมือนคำที่ว่า “เมื่อน้ำไหล มันย่อมไม่เน่า” เฉกเช่นเดียวกับร่างกายคนเรา ถ้าเลือดลมไม่ไหลเวียน มันย่อมเกิดของเสีย





Credit : http://www.bloggang.com

::นวดกดจุด ดัดตนแบบผสมผสาน::

::นวดกดจุด ดัดตนแบบผสมผสาน::

http://www.rd.go.th/

วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

ถังหมักก๊าซชีวภาพ

ถังหมักก๊าซชีวภาพ


รร.วัดประดู่ธรรมธิปัตย์
104 ถ.ประชาราษฎร์สาย 1 บางซื่อ กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ 0-2585-1941 โทรสาร 0-2585-1941 e-mail : watpradu@hotmail.com

แก็สชีวภาพจากมูลสัตว์ เกษตร อ.เมืองนครราชสีมา

สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองนครราชสีมา แนะนำการทำแก๊สชีวภาพ ทางเลือกใหม่ยุคเศรษฐกิจพอเพียง


ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์  
โดย 
นายอนุสรณ์  ฉมารัตน์ 
เกษตรอำเภอปากช่อง
สนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและดูงาน ติดต่อได้ที่
สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองนครราชสีมา
โทรศัพท์  0-4424-4874
ก๊าซชีวภาพ คืออะไร   
                     ก๊าซชีวภาพ คือ ก๊าซที่เกิดจากมูลสัตว์ หรือสารอินทรีย์ต่างๆ ถูกย่อยสลายโดยเชื้อจุลินทรีย์ในสภาพไม่มีอากาศ ทำให้เกิดก๊าซขึ้น ซึ่งก๊าซที่เกิดขึ้นเป็นก๊าซที่ผสมกันระหว่างก๊าซชนิดต่างๆได้แก่ มีเทน (CH4) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซไนโตรเจน (N2) และก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) แต่ส่วนใหญ่แล้วจะประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นหลัก ซึ่งมีคุณสมบัติติดไฟได้ 
ทำไมถึงต้องมีก๊าซชีวภาพ
                    บ่อก๊าซชีวภาพ สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี นอกเหนือจากรักษาสภาพแวดล้อมแล้วยังได้ก๊าซชีวภาพมาเป็นแหล่งพลังงานในการ หุงต้ม และให้แสงสว่างในครัวเรือนซึ่งจะช่วยให้ประหยัดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง บ่อก๊าซชีวภาพยังให้ปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถนำมาใช้ปรับปรุงดินเพิ่มผลผลิตพืช ได้อีกด้วย หรือนำมาใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพใช้ปุ๋ยเคมีให้เป็น ประโยชน์กับพืชมากขึ้น ทำให้ลดการขาดดุลทางการค้าในการสั่งปุ๋ยจากต่างประเทศได้อีกทางหนึ่ง
ขั้นตอนการผลิตแก๊สชีวภาพ แบบพอเพียงในครัวเรือน

  ประกอบคำบรรยาย

เลือกพื้นที่ ไม่ห่างจากคอกสัตว์มากเกินไป ห่างจากครัวไม่เกิด 50 M. น้ำไม่ทั่วขัง  แล้ววางแผนจุดพื้นที่ขุดทำบ่อตามแผน
ขุดบ่อหมักลึก 1.5 M. ก้นบ่อเป็นแอ่งกระทะ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 M.เทพื้นบ่อด้วย ปูนคอนกรีตผสม (1:2:3) แล้วใช้อิฐมอญรอบบ่อขึ้น 40 Cm วางท่อคอนกรีต ขนาด 8 นิ้ว ยาว 1 M. ให้เอียง 60 องศา ทั้ง 2 ด้านให้อยู่ตรงกันข้าม เพื่อต่อไปยังบ่อเติมและบ่อล้น
ก่ออิฐมอญต่อขึ้นอีก 60 cm. ฉาบผิวบ่อด้วยปูนซีเมน ทำบ่อล้นให้ห่างจากบ่อหมักสุดปลายท่อ โดยใช้บ่อคอนกรีต(ถังส้วม) 2ถัง
ก่ออิฐมอญให้รอบบ่อหมัก  ด้านหนึ่งของปลายท่อติดคอกสัตว์ทำบ่อเติมด้วยอิฐบล็อกขนาด 50 x 70 cm. (รูปแบบตามต้องการ)
ก่อให้โค้งขึ้น(เหมือนทำโอ่งน้ำ)ให้เหลือไว้ทำปากบ่อประมาณ 90 cm. ค่อยๆก่อปากบ่อขึ้นให้ปูนแห้ง
ใช้กะละมังขาดประมาณ 60 cm. ทำปากบ่อ และทำฝาปิดบ่อปิดใช้กะละมังใบเดิมใสปูน ใส่ท่อน้ำขนาด 4 หุน ยาว 50 cm. ไว้ตรงกลาง
ตกแต่งปากบ่อหมักให้เรียบ นำฝาที่ทำไว้มาปิด ยาแนวด้วยดินเหนียวละเอียด รดน้ำให้ฝาชุ่ม กันดินเหนียวแห้ง
ทดสอบความรั่วของบ่อ ใช้หลักการ Barlow Meter เติมมูลสัตว์ 50-100 ปี๊บ(มูลสัตว์ผสมน้ำ 1:1) หมักไว้ 7 วัน จะเกิดแก๊สสังเกตบ่อล้น
จึงเปิดวาล์วที่ติดไว้กับท่อน้ำแก๊ส  ต่อสายยางเข้าเตาแก๊สหุงต้ม ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้เหมือนแก๊สหุงต้มทั่วไป
หลักปฏิบัติและดูแลบ่อแก๊สชีวภาพ
            1. ต้องเติมมูลสัตว์ทุกวัน วันละ 1 ปี๊บ (มูลสัตว์ผสมน้ำ 1:1)
                2. ห้ามใส่หรือทิ้งสารเคมี เช่น ผงชักฝอก น้ำยาล้างจาน คลอรีน เพราะจะทำให้จุลินทรีย์ตาย
ข้อดีของการมีบ่อแก๊สชีวภาพ
           1. ประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
             2. ใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์
             3. มูลที่ได้จากบ่อล้น เป็นปุ๋ยคุณภาพดี  ผ่านการหมักทำลายการงอกของเมล็ดพืชและไข่แมลง เชื้อโรคต่างๆ  ไม่มีกลิ่นเหม็น
             4. แก๊สที่ได้ยังสามารถประยุกต์ใช้กับเครื่องยนต์รอบต่ำและเป็นพลังงานเชื้อเพลิงในตะเกียงเจ้าพายุได้ด้วย
 

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

กวาวเครือขาว - ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ ม.อุบล : thaicrudedrug.com

กวาวเครือขาว - ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ ม.อุบล : thaicrudedrug.com

กวาวเครือขาว

ชื่อเครื่องยา

กวาวเครือขาว

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา


ได้จาก

หัว ราก

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

กวาวเครือขาว

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

กวาวเครือ ทองเครือ ทองกวาว ตานจอมทอง จอมทอง กวาวหัว

ชื่อวิทยาศาสตร์

Pueraria candollei Graham ex Benth. var mirifica (Airy Shaw et Suvat.) Niyomdham. Pueraria candollei var candollei Graham ex Benth.

ชื่อพ้อง


ชื่อวงศ์

Leguminosae (Fabaceae)-Papilionoideae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา :
หัวใต้ดิน กลม มีหลายขนาด หัวที่มีอายุมากมีขนาดใหญ่ อาจมีน้ำหนักมากถึง 20 กิโลกรัม ที่เปลือก เมื่อเอามีดปาดจะมียางสีขาวคล้ายน้ำนม เนื้อในสีขาวคล้ายมันแกว เนื้อจะเปราะ มีเส้นมาก รสเย็นเบื่อเมา หัวที่ยังเล็ก เนื้อในจะละเอียด มีน้ำมาก

เครื่องยา กวาวเครือขาว

หัวกวาวเครือขาว

หัวกวาวเครือขาว

หัวกวาวเครือขาว


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี :
สารที่ใช้เป็นสารเครื่องหมาย (marker) คือ miroestrol และ deoxymiroestrol


สรรพคุณ :
ตำรายาแผนโบราณ ใช้ หัว รสเย็นเบื่อเมา บำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง บำรุงสุขภาพ บำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะสำหรับผู้สูงอายุ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้อ่อนเพลีย ผอมแห้ง นอนไม่หลับ มีฮอร์โมนเพศหญิงสูง ทาหรือรับประทานทำให้เต้มนมขยายตัว เส้นผมดกดำ เพิ่มเส้นผม เป็นยาปรับรอบเดือน อาจทำให้แท้งบุตรได้ บำรุงความกำหนัด ทำให้อวัยวะสืบพันธุ์และมดลูกมีเลือดมาคั่งมากขึ้น บำรุงอวัยวะสืบพันธุ์ให้เจริญ แก้โรคตาฟาง ต้อกระจก ทำให้ความจำดี ทำให้มีพลัง เคลื่อนไหวคล่องแคล่ว บำรุงโลหิต กินได้นอนหลับ ผิวหนังเต่งตึงมีน้ำมีนวล ถ้ารับประทานเกินขนาดจะเป็นอันตรายได้ ทำให้มีอาการมึนเมา คลื่นไส้อาเจียนเปลือกเถา รสเย็นเบื่อเมา แก้พิษงู
ตำรายาพม่า ใช้ หัว เป็นยาอายุวัฒนะของทั้งหญิงและชาย ผสมน้ำผึ้งอย่างละเท่าๆกัน ปั้นกินวันละ 1 เม็ด ขนาดเท่าผลพริกไทย คนหนุ่มสาวไม่ควรรับประทาน


รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา :
สถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข ระบุขนาดการใช้ดังนี้

การใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยาบำรุงร่างกาย ให้รับประทานยาตำรับที่มีส่วนประกอบของผงกวาวเครือขาว ไม่เกิน 1-2 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัมต่อวัน หรือประมาณวันละไม่เกิน 50-100 มิลลิกรัม

อาการข้างเคียงที่อาจพบได้คือ เจ็บเต้านม มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ปวดหรือเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
ข้อห้ามใช้ ห้าม ใช้ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ เพราะสารที่มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงในกวาวเครือขาวมีความแรงของตัวยาจะ รบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศ และระบบประจำเดือนได้
ข้อควรระวัง ห้ามรับประทานเกินขนาดที่แนะนำให้ใช้
ตำรายาของหลวงอนุสารสุนทร ระบุขนาดที่ใช้ของหัวกวาวเครือขาว โดยให้รับประทานกวาวเครือขาวผสมน้ำผึ้ง ขนาดเท่าเมล็ดพริกไทย 1 เมล็ดต่อวัน รับประทานมากจะทำให้มึนเมาเป็นพิษ คนหนุ่มสาวไม่ควรรับประทาน


องค์ประกอบทางเคมี :
สารที่มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ สารกลุ่ม chromene ได้แก่ miroestrol deoxymiroestrol สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ เช่น peurarin kwakhurin coumestrol mirificoumestan daidzin daidzein mirificin genistein genistin


การศึกษาทางเภสัชวิทยา :
ฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์ : กวาว เครือขาวมีผลยับยั้งการเกี้ยวพาราสี การผสมพันธุ์และการเจริญของอัณฑะในนกพิราบเพศผู้ และยับยั้งการออกไข่โดยยับยั้งการเจริญของฟอลลิเคิลในนกพิราบตัวเมีย ส่วนการทดลองในหนูเพศเมียที่กินกวาวเครือขาวพบว่า มีผลยับยั้งการให้นมของหนูที่กำลังให้นม โดยไปยับยั้งการเจริญของต่อมน้ำนม และการสร้างน้ำนม มีผลป้องกันการตั้งครรภ์ เมื่อให้หนูกินในช่วงตั้งท้องวันที่ 1-10 ติดต่อกัน หรือให้กินในช่วงที่มีการเคลื่อนย้ายของตัวอ่อน โดยทำให้เกิดการแท้ง และเมื่อให้ในหนูที่ตัดรังไข่ออก กินกวาวเครือพบว่าน้ำหนักของมดลูกและปริมาณของเหลวในมดลูกเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับที่พบในหนูที่ได้รับ ethinyl estradiol และมีรายงานว่ากวาวเครือขาวมีฤทธิ์คุมกำเนิดที่ดีในหนูขาวเมื่อให้ในขนาด 1 กรัม/ตัว/สัปดาห์ ส่วนผลของกวาวเครือขาวต่อหนูเพศผู้พบว่า สัตว์มีพฤติกรรมการสืบพันธุ์ลดลง และมีขนาด และน้ำหนักของอัณฑะ epididymis ต่อมลูกหมาก และ seminal vesicles ลดลง รวมทั้งมีจำนวนตัวอสุจิ และเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหวของตัวอสุจิลดลง

(เอกสารอ้างอิง : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2546. ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยา ของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 2. โรงพิมพ์การศาสนา:กรุงเทพมหานคร.)

การศึกษาทางคลินิก :
ฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์ : การ ศึกษาทางคลินิกในระยะที่ 2 ในอาสาสมัครกลุ่มก่อนและหลังวัยหมดประจำเดือน ที่มีอาการพร่องฮอร์โมนเอสโตรเจน จำนวน 37 ราย ใช้เวลา 6 เดือน พบคะแนนของอาการวัยหมดระดูลดลงจาก 35.6 เป็น 15.1 และ 32.6 เป็น 13.69 ในกลุ่มที่ได้รับ 50 มก.ต่อวัน และ 100 มก.ต่อวัน ตามลำดับ แต่พบอาการข้างเคียง คือ อาการคัดตึงเต้านมประมาณร้อยละ 35 และอาการเลือดออกกระปริดกระปรอยประมาณร้อยละ 16.2

(เอกสารอ้างอิง : รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล. 2554. องค์ความรู้จากงานวิจัยสมุนไพรไทย 10 ชนิด กระชายดำ กวาวเครือขาว ขมิ้นชัน ขิง บัวบก พริกไทย ไพล ฟ้าทะลาย มะขามป้อม มะระขี้นก. บริษัท 21 เซ็นจูรี จำกัด:กรุงเทพมหานคร.)

การศึกษาทางพิษวิทยา :
การศึกษาพิษเฉียบพลันของผงหัวกวาวเครือขาวในรูปผงยาแขวนตะกอนในน้ำ พบว่าไม่ทำให้เกิดอาการพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่ามากกว่า 16 กิโลกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม การทดสอบพิษกึ่งเรื้อรังในหนูขาวพันธุ์วิสตาร์โดยการป้อนผงหัวกวาวเครือขาว ในรูปผงยาแขวนตะกอนในน้ำ ขนาด 10, 100 และ 1,000 มก./กก./วันติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 90 วันพบว่าการให้ในขนาด 10 และ 100 มก./กก./วัน ไม่ทำให้เกิดความผิดปกติต่อค่าโลหิตวิทยา และค่าทางชีวเคมี หรือพยาธิสภาพใดๆ แต่การให้ในขนาด 1,000 มก./กก./วัน ทำให้หนูเกิดภาวะโลหิตจาง จำนวนเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ระดับโคเลสเตอรอล น้ำหนักอัณฑะ ของหนูเพศผู้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และมีอัตราการเกิด hyperemia ของอัณฑะ ในหนูเพศเมียที่ได้รับในขนาด 100 และ 1,000 มก./กก./วันพบว่าระดับโคเลสเตอรอลดลง มดลูกบวมเต่ง มีอัตราการเกิด cast ที่ไตสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ

กวาวเครือแดง - ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ ม.อุบล : thaicrudedrug.com

กวาวเครือแดง - ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ ม.อุบล : thaicrudedrug.com

กวาวเครือแดง
ชื่อเครื่องยา
กวาวเครือแดง
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก
ราก
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา
กวาวเครือแดง
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)
กวาวเครือ กวาวหัว จานเครือ จอมทอง ตานจอมทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Butea superba Roxb.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์
Leguminosae (Fabaceae)-Papilionoideae
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา :
หัวใต้ดิน รูปทรงกระบอกยาว มีหลายขนาด เมื่อสะกิดที่เปลือก จะมียางสีแดงข้น คล้ายเลือดไหลออกมา


เครื่องยา กวาวเครือแดง
ราก
ราก

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี :
ยังไม่มีข้อมูล

สรรพคุณ :
ตำรายาไทย : ใช้ หัว รสเย็นเบื่อเมา บำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง บำรุงสุขภาพ เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ทำให้หน้าอกโต บำรุงความกำหนัด ราก แก้ลมอัมพาต แก้โลหิต ผสมรากสมุนไพรอื่นอีกแปดชนิดเรียกว่า พิกัดเนาวโลหะ ได้แก่ รากทองกวาว รากทองหลางหนาม รากทองหลางใบมน รากทองโหลง รากทองพันชั่ง รากขันทองพยาบาท รากใบทอง และรากจำปาทอง ใช้แก้โรคดี เสมหะ ลมที่เป็นพิษ แก้ริดสีดวง ทำลายพยาธิ ดับพิษ ถอนพิษ ชำระล้างลำไส้ แก้โรคตับ แก้ลม ขับระดูร้าย สมานลำไส้ เปลือกเถา รสเย็นเบื่อเมา แก้พิษงู
ตำรายาพม่าระบุว่า : ใช้เป็นยาอายุวัฒนะเช่นเดียวกับกวาวเครือขาว แต่มีฤทธิ์แรงกว่า
ตำรายาไทยระบุว่า : ชนิดหัวแดงนี้ มีพิษมาก ไม่นิยมนำมาทำยา ถ้ารับประทานมากจะเป็นอันตรายได้ ทำให้มึนเมา คลื่นไส้อาเจียน มีพิษเมามากกว่ากวาวเครือขาว ใช้ทำยาคุมกำเนิดในสัตว์

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา :
องค์การอาหารและยาของไทย ระบุขนาดการรับประทานกวาวเครือแดง ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัมต่อวัน (Fitoterapia 77 (2006) 435–438)

องค์ประกอบทางเคมี :
medicarpin (carpin 3-hydroxy-9-methoxypterocarpan); สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ได้แก่ butenin; formononetin (7-hydroxy-4_-methoxy-isoflavone); prunetin (7,4_-dimethoxyisoflavone); 5,4_-dihydroxy-7-methoxy-isoflavone, 7-hydroxy-6,4_-dimethoxyisoflavone

การศึกษาทางเภสัชวิทยา :
ฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์ : การทดลองป้อนกวาวเครือแดงในรูปผงป่นละลายน้ำ และสารสกัดเอทานอล ให้แก่หนูแรทเพศผู้ ความเข้มข้น 0.25, 0.5 และ 5 มก./มล. พบว่าหนูแรทที่ได้รับกวาวเครือแดงแบบผงป่นละลายน้ำเข้มข้น 0.5 และ 5 มก./มล. เป็นเวลา 21 วัน ทำให้น้ำหนักตัวของหนูแรท และปริมาณอสุจิเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และหนูแรทที่ได้รับสารสกัดเอทานอลเข้มข้น 5 มก./มล. 21 วัน มีน้ำหนักสัมพัทธ์ของ seminal vesicles ต่อมลูกหมาก และความยาวขององคชาติเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หนูแรทมีพฤติกรรมการสืบพันธุ์เพิ่มมากขึ้น เมื่อศึกษาต่อไปถึงระยะ 42 วัน พบว่าหนูแรทที่ได้รับกวาวเครือแดงแบบผงป่นละลายน้ำ มีน้ำหนักสัมพัทธ์ของ seminal vesicles ต่อมลูกหมาก และความยาวขององคชาติ และพฤติกรรมการสืบพันธุ์เพิ่มมากขึ้น แต่หนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเอทานอล กลับมีน้ำหนักสัมพัทธ์ของ seminal vesicles ลดลง การศึกษาผลของกวาวเครือแดงในระยะยาว และในปริมาณสารสกัดที่มากขึ้น พบว่าทำให้ระดับฮอร์โมน testosterone ของหนูแรทลดลง และปริมาณเอนไซม์ตับสูงขึ้น ดังนั้นการรับประทานกวาวเครือแดงมากเกินไป อาจทำให้เกิดพิษต่อตับได้
(เอกสารอ้างอิง พิชานันท์ ลีแก้ว.2553. โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ. ใน จุลสารข้อมูลสมุนไพร 28 (1):12-13.)

การศึกษาทางคลินิก :
ฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์ : การศึกษาในอาสาสมัครเพศชาย 17 คน อายุระหว่าง 30-70 ปี ที่มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศอย่างน้อย 6 เดือน ให้รับประทานกวาวเครือแดงแคปซูลขนาด 250 มก./แคปซูล วันละ 4 แคปซูล เป็นเวลา 3 เดือน ผลการศึกษาพบว่าระดับฮอร์โมน testosterone ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม แต่ผลจากการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับดัชนีชี้วัดสมรรถภาพทางเพศ จากอาสาสมัครพบว่าทำให้สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น 82.4% ดังนั้นกวาวเครือแดงจึงช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ และไม่พบการเกิดพิษ
(เอกสารอ้างอิง พิชานันท์ ลีแก้ว.2553. โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ. ใน จุลสารข้อมูลสมุนไพร 28 (1):12-13.)

การศึกษาทางพิษวิทยา :
การศึกษาพิษกึ่งเรื้อรังในหนูวิสตาร์เพศผู้โดยป้อนผงกวาวเครือแดงในขนาด 10, 100, 150 และ 200 มก./กก/วัน เป็นเวลา 90 วัน พบว่าหนูที่รับในขนาด 150 มก./กก/วัน น้ำหนักของม้ามเพิ่มขึ้น ระดับเอนไซม์ alkaline phosphatase (ALP) และ aspartate aminotransferase (AST) เพิ่มขึ้น หนูที่ได้รับขนาด 200 มก./กก/วัน พบว่าเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil ลดลง ส่วนเม็ดเลือดขาวชนิด eosinophil ระดับ serum creatinine ลดลง ระดับฮอร์โมน testosterone ลดลง ดังนั้นจึงควรระมัดระวังการใช้ในขนาดสูง เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ต่างๆได้ (Maturitas 60 (2008) 131–137)

ลักษณะวิสัย
ใบ

การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

http://kasetonline.com/tag/ต้นไม้/

การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

 วิธีเพาะเห็ดในสวนยาง , สวนปาล์ม  วิธีเพาะเห็ดในสวนยาง , สวนปาล์ม
ในช่วงฤดูร้อน เราจะมีเห็ดฟางที่เหลือจากการทำนาเป็นจำนวนมาก เรามีปัญหาเกษตรไม่น้อยที่มีรายได้ไม่เพียงพอ เรามีเกษตรที่เผาฟางทิ้งไป ดังนั้นเราจึงมีการดำเนินการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นด้านเห็ดฟาง , รายได้ของเกษตรกร รวมไปถึงความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีรูปแบบการทำงานหลายอย่าง อย่างหนึ่งก็คือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย
เป็นวิธีการที่ได้ประยุกต์มาจากการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง   ข้อดีของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย ก็ คือ สามารถจะใช้วัสดุเพาะได้หลายอย่าง เช่น ฟาง ผักตบชวา ต้นถั่ว ต้นกล้วย ขี้เลื่อยที่ผุแล้ว ชานอ้อย เหล่านี้เป็นต้น เป็นการเพาะที่ใช้วัสดุน้อยแต่ได้ผลผลิตดอกเห็ดได้สูง แต่เมื่อเห็ดออกดอกแล้วใช้เวลาการเก็บผลผลิตทั้งหมดได้ในระยะเวลาสั้นมาก สามารถรู้ผลผลิตค่อนข้างแน่นอน และเหมาะในการเพาะเป็นอาชีพหรือทำไว้เพื่อใช้กินเองในครัวเรือน เนื่องจากการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยนี้ขนาดกองเล็กมาก ดังนั้นเพื่อสะดวกในการเพาะ จึงนิยมทำไม้แบบเพื่อจะอัดวัสดุที่จะเพาะให้เป็นรูปกองเล็ก ๆ ได้

สิ่งจำเป็นในการเพาะเห็ดฟาง
วัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะ ใช้ฟางตากแห้งสนิทซึ่งเก็บไว้โดยไม่เปียกชื้นหรือขึ้นรามาก่อน ใช้ได้ทั้งฟางข้าวเหนียว ฟางข้าวจ้าว ฟางข้าวที่นวดเอาเมล็ดออกแล้ว และส่วนของตอซังเกี่ยวหรือถอนก็ใช้ได้ดีถ้าเปรียบเทียบวัสดุที่ใช้ในการ เพาะต่าง ๆ แล้ว ตอซังจะดีกว่าปลายฟางข้าวนวดและวัสดุอื่น ๆ มาก เนื่องจากตอซังมีอาหารมากกว่าและอุ้มน้ำได้ดี กว่าปลายฟาง
อาหารเสริม การใส่อาหารเสริมเป็นส่วนช่วยให้เส้นใยของเห็ดฟางเจริญได้ดี และทำให้ได้ดอกเห็ดมากกว่าที่ไม่ได้ใส่ถึงประมาณเท่าตัว อาหารเสริมที่นิยมใช้อยู่เป็นประจำได้แก่ ละอองข้าว ปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกแห้ง ไส้นุ่น ไส้ฝ้าย ผักตบชวาตากแห้งแล้วสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ จอกแห้ง และเศษพืชชิ้นเล็ก ๆ ที่นิ่มและอุ้มน้ำได้ดี เหล่านี้ก็มีส่วนใช้เป็นอาหารเสริมได้เช่นกัน
เชื้อเห็ดฟางที่จะใช้เพาะ การเลือกซื้อเชื้อเห็ดฟางเพื่อให้ได้เชื้อเห็ดที่มีคุณภาพดีและเหมาะสมกับราคามีหลักเกณฑ์การพิจารณาประกอบดังนี้ คือ
- เมื่อจับดูที่ถุงเชื้อเห็ด ควรจะต้องมีลักษณะเป็นก้อนแน่นมีเส้นใยของเชื้อเห็ดเดินเต็มก้อนแล้ว
- ไม่มีเชื้อราชนิดอื่น ๆ หรือเป็นพวกแมลง หนอน หรือตัวไร เหล่านี้เจือปน และไม่ควรจะมีน้ำอยู่ก้นถุง ซึ่งแสดงว่าชื้นเกินไป ความงอกจะไม่ดี
- ไม่มีดอกเห็ดอยู่ในถุงเชื้อเห็ดนั้น เพราะนั่นหมายความว่าเชื้อเริ่มแก่เกินไปแล้ว
- ควรผลิตจากปุ๋ยหมักของเปลือกเมล็ดบัวผสมกับขี้ม้า หรือไส้นุ่นกับขี้ม้า
- เส้นใยไม่ฟูจัดหรือละเอียดเล็กเป็นฝอยจนผิดธรรมดาลักษณะของเส้นใยควรเป็นสีขาวนวล เจริญคลุมทั่วทั้งก้อนเชื้อเห็ดนั้น
- ต้องมีกลิ่นหอมของเห็ดฟางด้วย จึงจะเป็นก้อนเชื้อเห็ดฟางที่ดี
- เชื้อเห็ดฟางที่ซื้อต้องไม่ถูกแดด หรือรอการขายไว้นานจนเกินไป
- เชื้อเห็ดฟางที่ซื้อมานั้น ควรจะทำการเพาะภายใน 7 วัน
- อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาใด ๆ ของผู้ขาย ควรสอบถามจากผู้ที่เคยทดลองเพาะมาก่อนจะดีกว่า นอกจากนี้ควรมีการตรวจสอบเชื้อเห็ดฟางจากหลายยี่ห้อ เชื้อเห็ดฟางยี่ห้อใดให้ผลผลิตสูงก็ควรเลือกใช้ยี่ห้อนั้นมาเพาะจะดีกว่า
- ราคาของเชื้อเห็ดฟางไม่ควรจะแพงจนเกินไป ควรสืบราคาจากเชื้อเห็ดหลาย ๆ ยี่ห้อ เพื่อเปรียบเทียบดูด้วย
สถานที่เพาะเห็ด เนื่องจากการเพาะเห็ดฟางเป็นการเพาะ บนดิน ดังนั้นเราต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมแปลงเพาะนั้นด้วยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะต้องเป็นบริเวณที่ไม่มียาฆ่าแมลงหรือยากันเชื้อรา น้ำไม่ท่วมขัง มีการระบายน้ำได้ดี และต้องเป็นที่ไม่เคยใช้เพาะเห็ดฟางมาก่อน ถ้าเคยเพาะเห็ดฟางมาก่อนก็ควรจะทำความสะอาดที่บริเวณนั้น โดยการขุดผลึกดินตากแดดจัด ๆ ไว้สัก 1 อาทิตย์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ บนดินที่จะเป็นพาหะของโรคและแมลงต่อเชื้อเห็ดที่เราจะเพาะในที่ดินนั้นได้ดี ขึ้น
สรุปแล้วที่กองเพาะเห็ดควรเป็นสถานที่ที่โล่งแจ้ง และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ สภาพดินบริเวณนั้นจะต้องไม่เค็ม เพราะความเค็มของดินจะทำให้เส้นใยเห็ดไม่รวมตัวกันเป็นดอกเห็ดได้
ปัจจัยที่สำคัญในการเพาะเห็ดฟาง
1. สภาพอากาศที่เหมาะสมในการเพาะเห็ดฟาง เห็ดฟางชอบอากาศร้อน อุณหภูมิ 35-37 องศาเซลเซียส ขึ้นได้ดีทั้งในฤดูฝนและในฤดูร้อน เพราะอากาศร้อนจะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของดอกเห็ดได้ดีอยู่แล้ว ส่วนในช่วงอากาศหนาวไม่ค่อยจะดีนัก เพราะอากาศที่เย็นเกินไปไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของดอกเห็ดฟาง สำหรับทางภาคใต้ก็สามารถจะเพาะเห็ดฟางได้ตลอดทั้งปี ถ้ามีฝนตกไม่มากเกินไปนัก
จึงเห็นได้ว่า การเพาะเห็ดฟางของประเทศไทยเราสามารถเพาะได้ตลอดปี แต่หน้าหนาวผลผลิตจะลดน้อยลงเนื่องจากอุณหภูมิต่ำ จึงทำให้ราคาสูง หลังฤดูเกี่ยวข้าวอากาศร้อน ฟางและแรงงานมีมากมีคนเพาะมากจึงเป็นธรรมดาที่เห็ดจะมีราคาต่ำลง ในฤดูฝนชาวนาส่วนมากทำนา การเพาะเห็ดน้อยลง ราคาเห็ดฟางนั้นก็จะดีขึ้น
2. เรื่องความชื้น ความชื้นเป็นส่วนสำคัญในการเพาะเห็ดฟางมากเป็นตัวกำหนดการเจริญของเส้นใย เห็ดที่สำคัญถ้าความชื้นมีน้อยเกินไปเส้นใยของเห็ดจะเดินช้า และรวมตัวเป็นดอกไม่ได้ ถ้าความชื้นมากเกินไปการระบายอากาศภายในกองไม่ดี ถ้าเส้นใยขาดออกซิเจนก็จะทำให้เส้นใยฝ่อหรือเน่าตายไป
น้ำที่จะแช่หรือทำให้ฟางชุ่มควรต้องเป็นน้ำสะอาด ไม่มีเกลือเจือปนหรือเค็ม หรือเป็นน้ำเน่าเสียที่หมักอยู่ในบ่อนาน ๆ จนมีกลิ่นเหม็น ก็ไม่ควรจะนำมาใช้ในการเพาะเห็ดฟางที่ดีนั้น น้ำที่ใช้ในการงอกเส้นใยเห็ดจะมาจากในฟางที่อุ้มเอาไว้และความชื้นจากพื้น แปลงเพาะนั้นก็เพียงพอแล้ว ปกติขณะที่เพาะไว้เป็นกองเรียบร้อยแล้วนั้นจึงไม่ควรจะมีการให้น้ำอีก ควรจะรดเพียงครั้งเดียวคือระหว่างการหมักฟางเพาะทำกองเท่านั้น หรืออาจจะช่วยบ้างเฉพาะในกรณีที่
ความชื้นมีน้อยหรือแห้งจนเกินไป การให้ความชื้นนี้โดยการโปรยน้ำจากฝักบัวรอบบริเวณข้าง ๆ แปลงเพาะเท่านั้นก็พอ
3. แสงแดด เห็ดฟางไม่ชอบแสงแดดโดยตรงนัก ถ้าถูกแสงแดดมากเกินไปเส้นใยเห็ดอาจจะตายได้ง่าย กองเห็ดฟางเพาะเห็ดหลังจากทำกองเพาะเรียบร้อยแล้ว จึงควรจะทำการคลุมกองด้วยผ้าพลาสติกและใช้ฟางแห้งหรือหญ้าคาปิดคลุมทับอีก เพื่อพรางแสงแดดให้ด้วยดอกเห็ดฟางที่ไม่โดนแสงแดดจัดมีสีขาวนวลสวย ถ้าดอกเห็ดฟางโดนแดดแล้วจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีดำเร็วขึ้นกว่าปกติ
วิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย
การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย เป็นวิธีการที่ได้ประยุกต์มาจากการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง ข้อดีของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยก็คือ สามารถจะใช้วัสดุเพาะได้หลายอย่าง เช่น ฟาง ผักตบชวา ต้นถั่ว ต้นกล้วย ขี้เลื่อยที่ผุแล้ว ชานอ้อย เหล่านี้เป็นต้น เป็นการเพาะที่ใช้วัสดุน้อยแต่ได้ผลผลิตดอกเห็ดได้สูง แต่เมื่อเห็ดออกดอกแล้วใช้เวลาการเก็บผลผลิตทั้งหมดได้ในระยะเวลาสั้นมาก สามารถรู้ผลผลิตค่อนข้างแน่นอน และเหมาะในการเพาะเป็นอาชีพหรือทำไว้เพื่อใช้กินเองในครัวเรือน เนื่องจากการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยนี้ขนาดกองเล็กมาก ดังนั้นเพื่อสะดวกในการเพาะจึงนิยมทำไม้แบบเพื่อจะอัดวัสดุที่จะเพาะให้เป็น รูปกองเล็ก ๆ ได้
ขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย
1. เตรียมดินให้เรียบ พลิกหน้าดินตากแดดไว้ 3-4 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค
2. การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยใช้ได้ทั้งตอซังและปลายฟางถ้าเป็นตอซังแช่น้ำพอ อ่อนตัวก็นำมาเพาะได้ ปกติประมาณ 1 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นปลายฟางแข็ง ๆ ควรแช่น้ำประมาณ 1-2 วัน หรือจุ่มน้ำแล้วนำมากองสุมกันไว้ประมาณ 1 คืน ให้อิ่มตัวนิ่มดีเสียก่อนจึงจะใช้ได้ดี ถ้าเป็นผักตบชวาหรือต้นกล้วยจะสับหรือไม่สับก็ได้ แต่ต้องแช่น้ำพอนิ่ม ปกติแช่น้ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วนำมาใช้กองได้เลย
3. หลังจากแช่น้ำวัสดุที่จะใช้เพาะได้ที่แล้ว ให้นำวัสดุที่ใช้เพาะนั้น ใส่ลงในกระบะไม้ที่วางเอาด้านกว้างซึ่งมีลักษณะป้านลงสัมผัสพื้น ให้ด้านแคบอยู่ข้างบนใส่ให้สูงประมาณ 4-6 นิ้ว ถ้าเป็นตอซังให้วางโคนตอซังหันออกด้านนอก ส่วนปลายอยู่ด้านในใช้มือกดฟางให้แน่นพอสมควร แต่ถ้าเป็นปลายฟางควรขึ้นไปย่ำพร้อมทั้งรดน้ำให้ชุ่ม ข้อควรระวังอย่าให้แฉะหรือแห้งจนเกินไป
4. นำอาหารเสริมที่ชุบน้ำแล้วโรยเป็นแถบกว้างประมาณ 2 นิ้ว รอบ ๆ ด้านทั้งสี่ด้านหนาประมาณ 1 นิ้ว
5. แบ่งเชื้อเห็ดฟางจากถุงซึ่งปกติเชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง หนักประมาณ 200 กรัม ออกเป็น 3-4 ส่วน เท่า ๆ กันจากนั้นโรยเชื้อเห็ดฟาง 1 ส่วน โดยโรยลงบนอาหารเสริมให้ทั่วและชิดกับขอบของแบบไม้ทั้งสี่ด้านก็เป็นการ เสร็จชั้นที่ 1
6. ทำชั้นที่ 2 และ 3 หรือ 4 ต่อไปก็ทำเช่นเดียวกับชั้นที่ 1 ทุกอย่าง เมื่อทำมาถึงขั้นสุดท้าย ให้โรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ดให้เต็มทั่วหลังแปลง
7. นำฟางที่แช่น้ำมาปิดทับให้หนา 1-2 นิ้ว แล้วเอาแบบไม้ออกโดยใช้มือข้างหนึ่งกดกองฟางไว้และทำกองอื่นต่อ ๆ ไป
8. ทำกองอื่น ๆ ต่อไปให้ขนานกบกองแรก โดยเว้นระยะห่างประมาณ 6-12 นิ้ว
9. ช่องว่างระหว่างกองแต่ละกองสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิตได้อีก โดยอาจจะโรยเชื้อเห็ดฟางลงไปบนช่องว่างระหว่างกอง เพราะบริเวณนี้ก็สามารถทำให้เกิดดอกเห็ดได้ จากนั้น รดน้ำดินรอบ ๆ กองให้เปียกชื้น
10. คลุมกองฟางด้วยผ้าพลาสติก โดยใช้ 2 ผืนเกยทับกันตรงกลางคลุมให้สูงกว่ากองฟางเล็กน้อยโดยคลุมเป็นแถว ๆ ถ้าอากาศร้อน ให้คลุมห่าง อากาศเย็นให้คลุมชิดหรืออาจคลุมติดกองเลย ในกรณี อากาศเย็นจัด การคลุมพลาสติกเป็นเรื่องสำคัญที่แต่ละแห่งในแต่ละ ฤดูจะต้องดัดแปลงไปตามความต้องการของเห็ด คือ ช่วงระยะแรก ราววันที่ 1-2 เชื้อเห็ดต้องการอุณหภูมิประมาณ 35-38 ํซ. และ ในวันต่อ ๆ มาต้องการอุณหภูมิต่ำลงเรื่อย ๆ จนราววันที่ 8-10 ซึ่ง เป็นวันที่เก็บผลผลิตนั้นต้องการอุณหภูมิราว 30 องศาเซลเซียส
11. นำฟางแห้งมาคลุม ทับผ้าพลาสติกอีกครั้งหนึ่งจนมิดเพื่อป้องกันแสงแดด แล้วใช้ของหนัก ๆ ทับปลายผ้าให้ติดพื้นกันลมตี

การเตรียมดิน

กรมวิชาการเกษตรได้ทำการศึกษาและพบว่า ถ้าปลูกเห็ดฟางลงไปโดยไม่ได้ขุดดินและทำให้ดินร่วน  นอกจากจะได้เห็นเห็ดฟางบนกองแล้ว จะได้เห็นเห็ดอีกเล็กน้อยบนพื้นดินรอบๆ กอง  ต่อมาได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบ  ถ้าขุดดินแล้วตากแดดทิ้งไว้ประมาณ  7 วัน หลังจากนั้นก็ย่อยดินให้ละเอียด  แล้วจึงเพาะเห็ด พบว่าได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น เพราะมีเห็ดอีกจำนวนมากขึ้นอยู่บนดินรอบๆกองนั่นเอง  บางครั้งได้เพิ่มขึ้น  1 ใน 3 ของจำนวนผลผลิตทั้งหมดในปัจจุบันจึงนิยมส่งเสริมให้มีการขุดดิน  เตรียมแปลงดินไว้ล่วงหน้า  เมื่อจะเพาะก็ย่อยดินให้ละเอียดขึ้น

ไม้แบบ

ใช้ไม้กระดานนำมาตอกเป็นกรอบแบบลังไม้รูปสี่เหลี่ยมคางหมูเพื่อทำเป็นแม่ พิมพ์   ในปัจจุบันนิยมให้ด้านกว้าง  30 เซนติเมตร  ด้านยาว 120   เซนติเมตร  ด้านสูง 30   เซนติเมตร   ส่วนหนึ่งนิยมทำให้ด้านบนสอบเข้าคือ แคบลงหรือเอียงเข้ากันเล็กน้อย เพื่อไม้แบบยกออกจากกองคือ ทำเสร็จแล้วก็จะทำได้ง่ายกรอบไม้นี้ควรจะมีขนาด 1-1.5 เมตร
อีกแบบหนึ่งมีผู้ได้ทำไม้แบบโดยการทำเป็นชิ้น ชนิดที่ถอดออกวางเป็นแผ่นได้เมื่อจะใช้นำมาประกบกันก็กลายเป็นแม่พิมพ์   แบบนี้สะดวกต่อการเก็บ คือสามารถวางซ้อนๆ กัน และไม่เปลืองเนื้อที่

บัวรดน้ำ
จะเป็นบัวพลาสติกหรือบัวสังกะสีก็ใช้ได้ทั้งนั้นขอให้ใช้ ตักน้ำได้และรดน้ำแล้วได้น้ำเป็นฝอย ๆ ก็ใช้ได้แล้ว ปัจจุบันที่ทำมาก ๆ จะใช้เครื่องสูบไดโว่หรือเครื่องสูบน้ำฉีดน้ำเป็นฝอยรดกองฟางให้เปียกชุ่ม ก่อนเริ่มการหมักได้ก็จะสะดวกดี

วัตถุดิบ

ตัวหลักคือเห็ดฟาง ที่ถอนมาหลังจากปล่อยให้ดินแตกระแหง จะได้รากและเศษดินติดมาด้วย หรือจะเกี่ยวที่โคนต้น  หรือเป็นเห็ดฟางที่ได้จาการนวดข้าวแล้วเป็นปลายฟาง หรือแม้แต่ลำโคนข้าง  คือ เศษข้าวที่พ่นออกมาจากเครื่องนวดข้าว
นอกจากนี้ ยังมีการใช้เปลือกของฝักถั่วเขียว เป็นอาหาร เสริม  ช่วยในการเพาะเห็ด แต่หลายแห่งของภาคอีสาน ก็ได้เปลี่ยนของการใช้เปลือกถั่วเขียว  เปลือกของฝักถั่วเหลืองในการเพาะเห็ด แต่ใช้เป็นฐานะวัตถุดิบ

การทำให้เห็ดฟางเปียก

นำฟางลงแช่ในน้ำเช้าใช้ตอนเย็น  หรือแช่ตอนเย็นทำตอนเช้า หรือว่าจะนำลงใส่ภาชนะขึ้นไปย่ำ  หรือใส่ลงถัง  หรือใส่ในแปลงนา  สูบน้ำเข้าแล้วนำไปย้ำเพื่อให้เปียกเต็มที่

การเพาะเห็ดฟางในชั้นแรก

เราจะใส่พวกวัตถุดิบ    นั่นคือฟางได้แช่น้ำเอาไว้หรือเป็นวัตถุอื่น เช่นพวกก้านกล้วย  ใบตองแห้ง  หรือขี้เลื่อย  ที่แช่น้ำเอาไว้แล้ว ใส่ลงไป  จากนั้นก็ขึ้นไปย้ำพร้อมกับรดน้ำ  เพื่อให้วัตถุดิบนี้อุ้มน้ำได้เต็มที่         ในปัจจุบันนิยมให้ความสูงของชั้นแรกนี้  สูงประมาณ  10 เซนติเมตร

การใส่อาหารเสริม

นำอาหารเสริม  มาแช่น้ำให้เปียกชุ่มชื้นดีเสียก่อน  อาหารเสริมตั้งแต่เริ่มต้นใช้ ไส้นุ่น ต่อ มามีการเปลี่ยน ไปอีกหลายอย่าง  เช่น เมล็ดที่ได้นำไปสกัดเอาน้ำมัน เอาส่วนอื่นๆ ออกไปแล้ว ส่วนที่เหลืออยู่ก็เป็นเศษฝ้าย บางคนก็เรียกว่า ขี้ฝ้าย     หรืออาจจะใช้ เปลือกของฝักถั่วเขียว เปลือกของฝักถั่วเหลือง ใบถั่วเขียว ใบแคฝรั่ง  ใช้ได้ทั้งอย่างแห้งและใบสด ผักตบชวาและจอก  หรือจอกหูหนู  ใช้ได้ทั้งอย่างแห้งและอย่างสด ถ้าเป็นชิ้นใหญ่ก็นำมาสับหรือหั่นให้เป็นชิ้นเล็กเสียก่อน    ก้านกล้วย ใบตองแห้ง บางครั้งเอาหยวกกล้วย เอามาสับให้ชิ้นเล็ก ก็ได้เช่นกัน
หรือแม้แต่มูลสัตว์ที่แห้ง อาจจะใช้ขี้วัว ขี้ควายแห้งป่น สามารถดัดแปลงที่เป็นชิ้นเล็ก  อุ้มน้ำได้ง่าย  และเห็ดชอบกิน  ใส่ลงไปภายในแม่แบบที่เราเพาะเห็ดอยู่  โดยใส่ริมๆด้านในและกดติดกับวัตถุดิบ หรือเนื้ออาหารนั้น

เชื้อเห็ด

เชื้อเห็ดที่แนะนำมักมีอายุ 1-2 สัปดาห์      อย่างน้อยที่สุดเจริญเต็มทั้งถุงนั้นแล้ว  อย่างมากต้องไม่แก่จนเกินไป ถ้าแก่มากๆ เส้นใยมักจะรวมกันและสร้างเป็นดอกเห็ดให้เห็นอยู่ ถ้าแก่เกินกว่านั้นอีก ดอกเห็ดก็จะยุบ  เส้นใยก็จะยุบเป็นน้ำเหลือง แสดงว่าแก่เกินไป
เชื้อเห็ดที่ดีไม่ควรจะมีศัตรูตกค้างอยู่ในนั้น  เช่น ตัวไร ขนาดเล็กๆที่มากินเส้นใยเห็ด ไม่ควรจะมีหนอนของ พวกแมลงหวี่ แมลงวัน ไม่ควรจะมีเชื้อราชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็นราสีเขียว ราเหลือง หรือเป็นเชื้อราชนิดอื่น  และไม่ควรจะมีเห็ดอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเห็ดเยี่ยวม้าอาจจะปนติดมาได้

การแบ่งเชื้อ

เมื่อซื้อเชื้อมาถุงหนึ่ง ก็จะใช้กับกองเห็ดมาตรฐาน  1 กอง นำเชื้อมาแบ่งเป็น 4 ส่วน เพื่อจะได้ใส่ส่วนละ 1 ชั้น  ชั้นที่1 และชั้นที่ 2 โรยทับลงไปบนอาหารเสริมส่วนนั้นเก็บเอาไว้เพื่อจะใช้ไว้โรยบนพื้นดิน

การใส่เชื้อ

เชื้อที่เราแบ่งไว้นั้น  นำมาบิแยกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเสียก่อนมิฉะนั้นการใส่เชื้อบางครั้งติด เป็นก้อน  ทำให้จุดหนึ่งไดเชื้อมาก อีกจุดหนึ่งแทบจะไม่ได้เชื้อเลย   ส่วนในกรณีของการที่จะใส่เชื้อลงไปในดินนั้น  เราก็จะใช้หลังจากที่ซุยดิน  รอบกองเสียก่อน  ดังนั้นใส่ชั้น 1 ชั้น2 ชั้น3 ให้เรียบร้อยเสียก่อน เหลืออีกส่วนหนึ่งเพื่อจะใส่ให้แก่ดินรอบกองต่อไปนี้
การเก็บเห็ดฟาง
เมื่อกองฟางเพาะเห็ดไปแล้ว 5-7 วัน จะเริ่มเห็นตุ่มสีขาวเล็ก ๆ เกิดขึ้น ตุ่มสีขาวเหล่านี้จะเจริญเติบโตเป็นเห็ดต่อไป เกษตรกรจะเริ่มเก็บเห็ดได้เมื่อเพาะไปแล้วประมาณ 7-10 วัน แล้วแต่ความร้อน และการที่จะเก็บเห็ดได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับวิธีการเพาะและฤดูกาล คือ ฤดูร้อนและฤดูฝนจะเก็บเห็ดได้เร็วกว่าฤดูหนาว เพราะความร้อน ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของเห็ด นอกจากนั้นถ้าใส่อาหารเสริมด้วยแล้ว จะทำให้เกิดดอกเห็ดเร็วกว่าไม่ใส่อีกด้วย ดอกเห็ดที่ขึ้นเป็นกระจุก มีทั้งอ่อนและแก่ ถ้ามีดอกเล็ก ๆ มากกว่าดอกใหญ่ ควรรอเก็บเมื่อดอกเล็กโตหรือรอเก็บชุดหลัง เก็บดอกเห็ดขึ้นทั้งกระจุกโดยใช้มือจับ ทั้งกระจุกอย่างเบาๆ แล้วหมุนซ้ายและขวาเล็กน้อย ดึงขึ้นมาพยายามอย่าให้เส้นใยกระทบกระเทือน

การเก็บดอกเห็ด

ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม  และมีการดูแลเป็นอย่างดีแล้ว ประมาณวันที่2 ใยเห็ดจะเจริญแผ่ในกองฟาง  และจะเจริญแผ่ไปทั่วในวันที่ 6     วันที่ 7หรือ 8  เส้นใยที่อยู่ริมกองและด้านบนก็จะเริ่มปรากฎเป็นตุ่มเล็กๆ นี้จะค่อยๆ โตขึ้น จนถึงวันที่9-10 ก็จะโตขึ้นพอเก็บได้
วิธีการเก็บดอกเห็ด ให้ใช้นิ้วชี้กับหัวแม่มือกดดอกเห็ดแล้วหมุนเล็กน้อย  ยกขึ้นเบาๆ  ดอกเห็ดจะหลุดลงมา   ในกรณีที่ดอกเห็ดมีลักษณะเป็นหัวแป้นอยู่  ก็ควรรอไว้ได้อีกวันหนึ่งหรือครึ่งวัน  แต่เมื่อดอกเห็ดมีลักษณะหัวยืดขึ้นแบบหัวพุ่ง  ก็ต้องเก็บทันที  มิฉะนั้นดอกเห็ดจะบานออก  ทำให้ขายไม่ได้ราคา

การเผากอง

ในบางพื้นที่บางแห่ง  ซึ่งมีดินเปรี้ยว เกษตรกรบางราย อาจจะใช้วิธีเมื่อเพาะเห็ดเสร็จหมดเรียบร้อยแล้ว นำแบบพิมพ์ออกเรียบร้อยแล้วก็เอาฟางแห้ง เอามาโรยบนกองนั้น แล้วจุดไฟเผาเลียไหม้ฟางแห้ง
ส่วนที่เอามาโรยคลุมได้ถูกเผากลายเป็นขี้เถ้าหมด ต่อมารดน้ำให้เปียกชื้น ขี้เถ้าเหล่านั้นก็ละลายน้ำ   กลายเป็นด่างช่วยแก้ความเป็นกรดของดิน  แต่วิธีอาจจะไม่สม่ำเสมอ  อาจจะไม่สามารถกำหนดให้พอเหมาะพอดี

การให้น้ำแก่ดิน

การคลุมกองและไม่รดน้ำไปที่กองนั้น   มีหลายแห่งที่นิยมปฏิบัติอยู่ แต่ให้กองฟางได้รับความชุ่มชื้น  โดยการรดน้ำลงไปที่ดิน  หรือถ้ามีจำนวนมากก็ฉีดน้ำพ่น เพื่อให้น้ำลงไปเปียกที่ดิน น้ำจะระเหยจากดินออกมา  แล้วถูกพลาสติกภายในเก็บเอาความชื้นเอาไว้ เป็นไอน้ำทำให้มีความชุ่มชื้นเพียงพอ      ความชุ่มชื้นพอแต่การคลุมตลอดอย่างนั้น  อาจจะทำให้การถ่ายเทอากาศไม่ดี  เมื่อถ่ายเทอากาศไม่ดี  คาร์บอนไดออกไซด์มาก  ถ้าประกอบกับความร้อน ก็จะทำให้ดอกเห็ดที่เกิดภายในวันที่ 6-7 นั้น บานเร็วขึ้น
การดูแลรักษา
1. การดูแลรักษากองเห็ด ให้ใช้ผ้าพลาสติกใสหรือสีก็ได้ ถ้า เป็นผ้าพลาสติกยิ่งเก่าก็ยิ่งดีคลุม แล้วใช้ฟางแห้งคลุมกันแดดกันลม ให้อีกชั้นหนึ่ง ควรระวังในช่วงวันที่ 1-3 หลังการกองเพาะเห็ด ถ้า ภายในกองร้อนเกินไปให้เปิดผ้าพลาสติกเพื่อระบายความร้อนที่ร้อน จัดจนเกินไป และให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกขึ้น ดูแลให้ดีก็จะเก็บ ดอกเห็ดได้ประมาณในวันที่ 8-10 โดยไม่ต้องรดน้ำเลย ผลผลิต โดยเฉลี่ยจะได้ดอกเห็ดประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อกอง
2. การตรวจดูความร้อนในกองเห็ด โดยปกติเราจะรักษา อุณหภูมิในกองเห็ดโดยเปิดตากลม 5-10 นาที แล้วปิดตามเดิม ทุกวันเช้าเย็น ถ้าวันไหนแดดจัดอุณหภูมิสูงความร้อนในกองเห็ดมาก ก็ควรเปิดชายผ้าพลาสติกให้นานหน่อย เพื่อระบายความร้อนใน กองเห็ด วิธีตรวจสอบความชื้นทำได้โดยดึงฟางออกจากกองเพาะ แล้วลองบิดดู ถ้าน้ำไหลออกมาเป็นสายแสดงว่าแฉะไป แต่ถ้ากองฟาง แห้งไปเวลาบิดจะไม่มีน้ำซึมออกมาเลย ถ้าพบว่ากองเห็ดแห้งเกินไปก็ควรเพิ่มความชื้นโดยใช้บัวรดน้ำเป็นฝอยเพียงเบา ๆ ให้ชื้น หลังจากทำการเพาะเห็ดประมาณ 1 อาทิตย์ จะเริ่มมีตุ่มดอกเห็ดสีขาว เล็ก ๆ ในช่วงนี้ต้องงดการให้น้ำโดยตรงกับดอกเห็ด ถ้าดอกเห็ด ถูกน้ำในช่วงนี้
ดอกเห็ดจะฝ่อและเน่าเสียหาย ให้รดน้ำที่ดินรอบกอง

ศัตรูและการป้องกันกำจัด

  1. 1. แมลง ได้แก่ มด ปลวก  จะมาทำรังและกัดกิน เชื้อเห็ด และรบกวนเวลาทำงาน  การป้องกันนอกจากเลือกสถานที่เพาะเห็ด  ไม่ให้มีมด ปลวก  แล้วอาจจะใช้ ยาฆ่าแมลง  เช่น  คลอเดน หรือเฮพต้าคลอร์  โรยบนดินรอบกองฟาง  หรือโรยทั่วพื้นที่ก่อนที่จะทำการเพาะเห็ดฟางก็ได้  อย่าโรยยาฆ่าแมลงลงบนกองฟางจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
  2. สัตว์ชนิดอื่น  ได้แก่ หนู คางคก กิ้งกือ และจิ้งเหลน  จะมากัดกินเชื้อเห็ดและขุดคุ้ยลายแปลงเพาะบ้าง  แต่ไม่มากนัก
    1. เห็ดราชนิดอื่น  ได้แก่ เห็ดขี้ม้า เห็ดหมึก เห็ดด้าน จะเจริญแข่งขันและแย่งอาหารเห็ดฟาง  ป้องกันได้โดยใช้ฟางที่แห้งที่สะอาดยังไม่มีเชื้อราอื่นขึ้น  ใช้ที่ดีและดูแลรักษากองฟางให้ถูกวิธี
วิธีแก้คือการเก็บ ฟางไม่ควรให้ถูกฝน และถ้ามีราขึ้นให้หยิบฟางขยุ้มนั้นทิ้งให้ไกลกองเพาะ

การย้ายที่เพาะ

คือการเลื่อนไปปลูกเห็ดลงพื้นที่ซึ่งไม่เพาะเห็ดมาก่อน   วิธีนี้ลดปัญหาพวกเชื้อราได้

ข้อดี ของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

  1. การเพาะกองเตี้ยสามารถใช้วัสดุเพาะได้มาก  เช่น  ตอซัง  กองฟาง  ผักตบชวา  ต้นกล้วย  ฝักถั่วลิสง  ไส้นุ่น  เปลือกถั่วเขียว  ฯลฯ
    1. ใช้แรงงานน้อย
    2. วิธีการเพาะง่าย  สะดวกและดูแลรักษาง่าย
    3. ไม่จำเป็นต้องใช้เชื้อเห็ดฟางมาก  แต่ได้ผลผลิตคุ้มค่า
    4. ระยะเวลาในการผลิตสั้นและสามารถกำหนดวันที่ให้ผลผลิตได้แน่นอน
    5. สามารถเพาะในเนื้อที่ที่จำกัดได้
  2. ใช้อุปกรณ์ในการเพาะเห็ด ค่อนข้างมาก
  3. ต้องใช้อาหารเสริม
  4. เพาะในฤดูหนาวมักมีปัญหาเรื่อความร้อนไม่พอ
  5. ผลผลิตจะออกมามากครั้งเดียว  โดยเก็บติดต่อกัน  2-3  วันก็หมด

ข้อเสีย ของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

ข้อแนะนำเพิ่มเติม
1. ในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยนั้น หากมีการเพาะหลาย ๆ กองเรียงกันแล้ว จะสามารถใช้ประโยชน์จากเนื้อที่ระหว่างกองแต่ละกองได้อีกด้วย เนื่องจากขณะรดน้ำก็จะมีธาตุอาหาร อาหารเสริม เส้นใยเห็ดที่ถูกน้ำชะไหลลงไปรวมอยู่บริเวณพื้นที่ระหว่างกอง จึง ทำให้บริเวณนั้นมีอาหารครบถ้วนต่อการเกิดดอกเห็ด และยิ่งถ้าให้ ความเอาใจใส่ดูแลอย่างดี หมั่นตรวจดูความชื้น อุณหภูมิ ให้เหมาะสม ต่อการเกิดดอกด้วยแล้ว พื้นที่ระหว่างกองนั้นก็จะให้ดอกเห็ดได้ อีกด้วย
2. ฟางที่จะใช้สำหรับการเพาะนั้นจะใช้ตอซัง หรือจะใช้ฟางที่ ได้จากเครื่องนวดข้าวก็ได้
3. หลังจากเก็บดอกเห็ดหมดแล้ว ควรเอากองเห็ดหลาย ๆ กอง มาสุมรวมกันเป็นกองใหม่ให้กว้างประมาณ80 ซม. ทำแบบการเพาะ เห็ดกองสูง แล้วรดน้ำพอชุ่มคลุมฟางได้สัก 6-8 วัน ก็จะเกิดดอกเห็ด ได้อีกมากพอสมควรเก็บได้ประมาณ 10-15 วันจึงจะหมด วัสดุที่ใช้นี้ หลังจากเพาะเห็ดฟางแล้วสามารถนำไปเพาะเห็ดอย่างอื่นได้อีกด้วยโดยแทบไม่ต้อง ผสมอาหารเสริมอื่น ๆ ลงไปอีกเลย หรือจะใช้เป็น ปุ๋ยหมักสำหรับต้นไม้ก็ได้ มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับปุ๋ยอินทรีย์ที่ กทม. ขายอยู่นั้นมาก
4. เมื่อเก็บดอกเห็ดหมดแล้ว นำฟางจากกองเห็ดเก่านี้ไปหมักเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชอื่น ๆ ต่อไป หรือนำฟางที่ได้จากการเพาะเห็ด ไปเพาะเห็ดนางรม เป๋าฮื้อ ก็ได้
5. การขุดดินตากแดด 1 สัปดาห์ ย่อยให้ดินร่วนละเอียด จะทำให้ผลผลิตเห็ดได้มากกว่าเดิมอีก 10-20%เพราะเห็ดเกิดบนดิน รอบ ๆ ฟางได้
6.การเปลี่ยนวิธีคลุมกองเห็ดตั้งแต่วันที่ 4 นับจากการเพาะ เป็นต้นไป ให้เป็นแบบหลังคาประทุนเรือจะทำให้ได้เห็ดเพิ่มขึ้น
คุณค่าทางอาหารจากดอกเห็ดฟาง
คุณค่าทางอาหาร เห็ด ฟางสด เห็ดฟางแห้ง
โปรตีน 3.40% 49.04%
ไขมัน 1.80% 20.63%
คาร์โบไฮเดรท 3.90% 17.03%
เถ้า - 13.30%
พลังงาน 44 แคลอรี่ 4170 แคลอรี่
แคลเซียม 8 มิลลิกรัม 2.35% ของเถ้า
เหล็ก 1.1 มิลลิกรัม 0.99% ของเถ้า
ฟอสฟอรัส - 30.14% ของเถ้า
ที่มา : วารสารเห็ด 2(1) : 40-41 (2525)

ตลาดสด

เมื่อเห็ดมาถึงตลาดส่ง เห็ดจะมีคุณภาพดีที่สุดในช่วงเช้ามืด  พ่อค้าแม่ค้าที่ขายเห็ดสด  ถ้าจะรักษาคุณภาพเห็ดสดนั้นให้ดีต่อไปก็ตาม  ควรที่จะได้แบ่งเห็ดสดเป็นจำนวนกี่ขีดต่อกี่บาท  แบ่งใส่ในถุงเล็กๆ
ถ้าใช้วิธีพรมน้ำลงไป  ผู้ขายอาจจะได้กำไรมากขึ้น  เพราะได้ขายน้ำที่ซึมอยู่ในเนื้อเห็ด   แต่คุณภาพของดอกเห็ดนั้นก็จะเสื่อมอย่างรวดเร็ว  โดยมากถ้าไปถึงช่วงบ่าย  ดอกเห็ดไม่สวย  ราคาการขายก็จะลดลง  แต่พ่อค้าแม่ค้าก็มักจะไม่ขาดทุนเนื่องจากได้กำไรดีมาตั้งแต่ในตอนเช้ามืด แล้ว

เห็ดฟางอัดกระป๋อง

ประเทศไทยก็ได้มีการทำเห็ดฟางอัดกระป๋อง   โดยนำเห็ดนั้นมาตกแต่งให้สะอาด   ปอกเอาเยื่อหุ้มออก   แล้วให้มีรูปทรงของดอกเห็ดที่ไม่มีเยื่อข้างบน   จากนั้นจึงนำกรรมวิธีเพื่ออัดกระป๋อง  อาจจะมีบ้างที่ไม่ได้เอาส่วนโคนออก   แต่นำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างอื่น   เช่นไปปรุงอาหารอีกแบบหนึ่ง
ในขณะนี้ได้มีการขายเห็ดแปรรูปในลักษณะของการทำต้มยำกุ้งแห้ง  ซึ่งเมื่อไปถึงต่างประเทศ  เขาก็จะนำกลับมาทำเปียก   อีกอยางหนึ่งคือการทำต้มยำกุ้งแต่มีเห็ดมากหน่อย  ก็เป็นต้มยำสำเร็จรูปอัดกระป๋องไปเลย  เมื่อถึงผู้บริโภคเขาก็เพียงแต่เปิดกระป๋อง   แล้วนำไปอุ่นหรือเข้าไมโครเวฟให้ร้อนในระดับที่ต้องการ  หรือเดือดอีกครั้งหนึ่ง  ก็นำไปเสริฟให้ลูกค้าได้

เอกสารอ้างอิง

ดีพร้อม  ไชยวงศ์เกียรติ    . “การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย “ .คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  บางเขน     .2540
กองบรรณาธิการกลุ่มบัณฑิต  . “การเพาะเห็ดฟาง”  .มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ .2531
อานนท์   เอื้อตระกูล   .  “การเพาะเห็ดฟาง “ .  ชมรมผู้เพาะเห็ดสมัครเล่น  .พิมพ์ครั้งที่2 .2530
บรรณ   บูรณะ    .”การเพาะเห็ดฟาง “ .  ศูนย์ ผลิตตำราและเกษตรชนบท  .2531
ชาญยุทธ์ ภาณุทัต ภาคนวกการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย http://www.doae.go.th/plant/ann/tbkh23.htm
ศูนย์กลางการแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชน ”การเพาะเห็ดฟาง
http://www.cbusinessthai.com/index/content/farm_003.html
“การเพาะเห็ดฟางhttp://web.ku.ac.th/agri/mush/mush.htm

สร้างเครื่องตะบันน้ํา - เกษตรออนไลน์

สร้างเครื่องตะบันน้ํา - เกษตรออนไลน์

เครื่องตะบันน้ำ

เครื่องตะบันน้ำ (เพิ่มแบบ การทำแล้ว)

z

เมื่ออาทิตย์ก่อนทาง NGOs ทางใต้ เขามาชวนเป็นวิทยากร เรื่อง mini-hydro วันนั้นก็มีการคุยกับชาวบ้าน(บางที่ก็ฟังคำถามไม่ค่อยออก ภาษาใต้) และมีการติดหนี้กันไว้เรื่องหนึ่งคือ เรื่องแบบเครื่องตะบันน้ำ (Hydraulic ram) ผมเลยถือโอกาสเขียนเป็นบทความเล็กๆพร้อมกันนี้เลย อนึ่งแบบและผลกาทดลองนี้ไม่ได้เป็นการทดลอง และความคิดของ PlanEnergy แต่เป็นการเรียบเรียงมา โดยอ้างอิงที่มาไว้ท้ายบทความ นโยบายในการผลิต ของเรายังไม่มีครับ เพื่อไม่ให้เสีบเวลาเชิญพบกับเครื่องตะบันน้ำสิ่งมหัศจรรย์ ทางเทคโนโลยี อายุกว่า 200 ปี ได้แล้วครับ


ข้อดีของเครื่องตะบันน้ำ

1.ไม่ต้องการพลังงานจากภาพนอก ทำงาน 24 ชม./วัน ไม่กิน ไฟฟ้า หรือน้ำมัน กินแต่น้ำ

2.มีโครงที่ไม่ซับซ้อน คือมีส่วนเคลื่อนไหวเพียง 2 ส่วน (วาล์ 2 ตัว)

ส่วนประกอบของระบบเครื่่องตะบันน้ำ

rampump

การทำงาน

หลักการคือ การทำให้น้ำที่ไหลมาด้วยความเร็ว หยุดกระทันหัน เหมือนเราเปิดก็อกน้ำ ที่ส่งมาจากแท็งน้ำสูงๆ แล้วเราปิดทันที่ จะเกิดแรงดันตีกลับทำให้ท่อน้ำสะบัด ความดันชั่วขณะนี้ จะนำไปใช้ในการส่งน้ำต่อไปยังถังเก็บที่สูงกว่า โดยเราต้องยอมสูญเสียน้ำจำนวนหนึงไป ตามหลักอณุรักณ์พลังงาน คือเราดึงเอาพลังงานจากน้ำที่ไหลเข้า มาให้น้ำที่ส่งไปยังถังเก็บ และทิ้งน้ำที่เหลือพลังงานน้อยออกไปทางวาล์วน้ำทิ้ง

ramcyccle

แบ่งเป็น 3 ช่วง

1 ช่วงเร่งความเร็วน้ำเข้า

โดยวาล์วน้ำทิ้งจะเปิดอยู่ด้วยน้ำหนักที่กด ทำให้น้ำจากท่อน้ำเข้าไหล เข้าตัวเรือนปั๊ม และออกที่วาลวน้ำทิ้ง ควาเร็วของน้ำก็จะค่อยๆเพิ่มขึ้น (ช่วง A ) เมื่อความเร็วถึงจุดหนึ่ง( Vm) กระแสน้ำจะสามารถ พยุงวาล์วน้ำทิ้งเอาชนะน้ำหนักที่กดวาล์วได้ ทำให้วาล์วน้ำทิ้งปิดทันที่ (ช่วง B)

2 ช่วงส่งน้ำ

เมื่อน้ำถูกทำให้หยุดกระทันหัน ทำให้เกิดความดันสูงในเรือนปั๊ม ความดันนี้สามารถชนะความดันในห้องความดันได้ ทำให้น้ำสามารถไหลผ่านวาล์วความดันทางเดียว เข้าไปยังส่วนท่อส่งน้ำออก(ช่วง C) ความดันในตัวเรือนปั๊มจะค่อยๆลดลงเรื่อยๆ จนไม่สามารถชนะความดันในห้องความดันได้ ทำให้วาล์วความดันปิดอีกครั้ง(ที่จุด d)

3 การไหลย้อน

น้ำจะไหลย้อนกลับมาทางท่อน้ำเข้า ทำความดันในปั๊มลดลงจนต่ำกว่าความดันบรรยากาศ อากาศบางส่วนไหลเข้ามาทาง วาล์วเติมอากาศเพื่อรอการบรรจุไปในห้องความดันในรอบการทำงานหน้า (การเติมอากาศเล็กน้อยเข้าไปในห้องความดัน ทำให้เราแน่ใจว่าอากาศจะไม่หมดไปกับน้ำที่อาจพาไปกับท่อส่งน้ำ) ความดันที่ลดลงทำให้วาล์วน้ำทิ้งเปิดอีกครั้ง (ด้วยน้ำหนักที่กด) เป็นอันครบรอบการทำงาน

อ้างอิง

1.Hydraulic Rams For Off-Stream Livestock Watering

Cooperative Extension Service/The University of Georgia College of Agriculture and Environmental Sciences/Athens

2.HYDRAULIC RAM MADE FROM STANDARD PLUMBING PARTS

Cooperative Extension Service/The University of Georgia College of Agriculture and Environmental Sciences/Athens

3.HYDRAULIC RAM PUMP SYSTEM DESIGN AND APPLICATION

Dr. Abiy Awoke Tessema Head, Equipment Design Research, Development and Technology Adaptation Center Basic Metals and Engineering Industries Agency, P.O. Box 1180, Addis Ababa, Ethiopia ESME 5th Annual Conference on Manufacturing and Process Industry, September 2000 Reprinted with ESME permission by the African Technology Forum 4.HYDRAULIC RAM PUMP Teferi Taye Senior Mechanical Engineer Energy Division, Equatorial Business Group (EBG) Plc, Addis Ababa, Ethiopia Published in the Journal of the ESME, Vol II, No. 1, July 1998 Reprinted with ESME permission by the African Technology Forum

5.How does a hydraulic ram pump work?

http://www.howstuffworks.com/

มาถึงแบบการทำบ้าง ผมหาจากใน web โดยเลือกที่สามารถหาวัสดุในการทำได้ไม่ยาก แบบ ,ภาพ ,ตลอดจนเนื้อหานี้ได้จากClemson University Cooperative Extension, Laurens County

.( http://www.clemson.edu/irrig/Equip/ram.htm )

z
z
  • ส่วนประกอบ
    1 1-1/4" valve

    2 1-1/4" tee (สามทาง)

    3 1-1/4" union

    4 1-1/4" brass swing check valve (เชควาล์ว แบบบานพับ)

    5 1-1/4" spring check valve (เชควาล์ว แบบมีสปริง)

    6 3/4" tee (สามทาง)

    7 3/4" valve

    8 3/4" union

    9 1-1/4" x 3/4" bushing (ท่อลด)

    10 1/4" pipe cock (วาล์ว)

    11 100 psi gauge (เกย์ความดัน)

    12 1-1/4" x 6" nipple (ท่อตรง)

    13 4" x 1-1/4" bushing (ท่อลด)

    14 4" coupling (ข้อต่อตรง)

    15 4" x 24" PR160 PVC pipe (ท่อPVC ทนความดัน 160 psi)

    16 4" PVC glue cap 8 3/4" union (ฝาปิด)

    17 3/4" x 1/4" bushing (ท่อลด)
ส่วนประกอบแต่ละอัน ต่อกันด้วยนิปเปิล เราสามารถประกอบจากท่อ PVC หรือท่อกาวาไนส์(ท่อแป๊ป) ก็ได้ แต่แนะนำว่าท่อความดัน(หมายเลข 15) ถ้าเป็น PVC จะช่วยลดน้ำหนักได้มาก
ข้อแนะนำในการประกอบและใช้งาน ท่อความดัน(หมายเลข 15) ให้ใส่ยางในรถตัดเป็นแผ่นกลมขนาดพอดีกับท่อด้านใน ไม่คับไม่หลวม แผ่นยางนี้ช่วยรักษาอากาศ ภายในท่อความดัน ไม่ให้เสียไปกับน้ำขาออก (สังเกตุว่า ตะบันน้ำแบบนี้ไม่มีวาล์วเติมอากาศ snifter valve) หากจำเป็นต้องเปลี่ยนยางใน ก็ทำการตัดท่อแล้วใช้ข้อต่อตรงต่อเหมือนเดิม (แบบเดิมใช่ข้อต่อแบบเป็นเกลียว แต่มีปํญหาเรื่องการรั่ว เลยใช้แบบทากาว) การทำงานของวาล์วต่างๆ วาล์วหมายเลข 1 เป็นทางน้ำเข้า และยูเนียนหมายเลข 8 เป็นทางออกน้ำไปยังถงเก็บ เช็ควาล์วบานพับหมายเลข 4 เป็นวาล์วน้ำทิ้ง วาล์วนี้เตอนเริ่มต้นทำงานเราใช้นิ้วกดให้น้ำไหลออกในครั้งแรก
z
การติดตั้งวาล์วน้ำทิ้งปรับแนวของสลักยึดบาน พับวาล์วให้อยู่ในแนวเดียวกับ แนวท่อน้ำเข้า โดยปรกติถ้าเราต้องการ ความดันน้ำออกให้มากที่สุด(แต่จัเสียน้ำทิ้งมาก และอัตราไหลต่ำ) เราจะหมุนท่อน้ำทิ้งให้ตั้งฉากกับแนวระดับ (น้ำต้องใช้ความเร็วมากในการพาให้ลิ้นวาล์วปิด) แต่เราสามารถปรับมุมของท่อน้ำออกกับแนวระดับที่มุมอื่นๆ เพื่อความเหมาะสมตามความต้องการ วาล์วเปิดปิดอื่นแนะนำให้ใช้แบบบอลวาล์ว แทนแบบประตูน้ำ เพื่อความทนทานต่อแรงกระแทกของน้ำ เกย์ความดันหมายเลข 11 ใช้ในการทดสอบความดันของอากาศในท่อความดันก่อน เดินเครื่องใช้งาน ในระหว่างใช้งาน เราปิดวาล์วหมายเลข 11 เพื่อป้องกันการเสียของเกย์ความดัน (บางที่เราอาจทอดเกย์ออกเลย หลังติดตั้งเรียบร้อย) ท่อน้ำเข้า ท่อส่งน้ำเข้าควรเป็นท่อกาวาไนส์เนื่องจากมีความยืดหยุ่นน้อย(ไม่ยุบไม่ ขยาย) ทำให้ประสิธิภาพของเครื่องตะบันน้ำดี แต่ท่อPVC ก็ยังคงใช้งานได้พอใช้ ความยางของท่อน้ำเข้า(วัดจากแหล่งน้ำ) ที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 150-1,000 เท่าของ เส้นผ่านศูนย์กลางของท่อน้ำเข้า ตัวอย่างตามแบบท่อน้ำเข้า ขนาด 1-1/4 นิ้ว (1.25 นิ้ว) ความยาวท่อก็ควรอยู่ระหว่าง 187.5 นิ้ว (150 x 1.25) หรือ 15.6 ฟุท ถึง 1250 นิ้ว (1000 x 1.25 ) หรือ 104 ฟุท