ประเภทและชนิดของเห็ด :: rakbankerd - ข้อมูลการเกษตร ::ประเภทและชนิดของเห็ด
วงจร ชีวิตเห็ดทุกชนิดมีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยเริ่มจากสปอร์ ซึ่งเมื่อตกไปอยู่ ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะงอกเป็นใยราและกลุ่มใยรา (mycelium) แล้วรวมเป็น กลุ่มก้อนเกิดเป็นดอกเห็ด เมื่อดอกเห็ดเจริญเติบโตขึ้นจะสร้างสปอร์ ซึ่งจะ ปลิวหรือหลุดไปงอกเป็นใยราได้อีก หมุนเวียนเช่นนี้เรื่อยไป เป็นรูปร่างดอก เห็ดที่เรารู้จักกัน ตามแต่ลักษณะที่มองเห็นได้จากภายนอกแตกต่างกันออก ไป ดังต่อไปนี้
|
|
| รูปร่างของดอกเห็ดดอกเห็ดจะมีรูปร่างสวยงามแตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิด บางชนิดมีรูปร่างคล้ายร่มกาง บางชนิดเหมือนปะการัง บางชนิดเหมือนรังนก
ขนาดมีขนาดแตกต่างกันออกไป มีทั้งขนาดเล็กเท่าหัวไม้ขีดไฟ ไปจนถึงขนาดใหญ่เท่าลูกฟุตบอล
สีมีทั้งสีสวยสะดุดตา และกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม
กลิ่นบางชนิดมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน แต่บางนิดมีกลิ่นเหม็นเวียนศีรษะ
แหล่งกำเนิดเห็ดแต่ละชนิดมีแหล่งกำเนิดแตกต่างกัน บางอย่างเกิดขึ้นในป่า บนภูเขา บนพื้นดินตามทุ่งนา บนพื้นดินที่มีปลวก บนตอไม้ บนพืชหรือบนเห็ดด้วยกัน
เห็ดบางชนิดใช้รับประทานได้ บางชนิดเป็นเห็ดพิษ และหากเป็นชนิดมีพิษมากถ้าเก็บมารับประทานอาจถึงตายได้ เพราะพิษของเห็ดเข้าไปในระบบเลือดแล้วกระจายไปทั่วทั้งร่างกายไม่ตกค้างใน กระเพาะเหมือนเห็ดพิษชนิดมึนเมาและอาเจียน ซึ่งเห็ดพิษชนิดมึนเมาจะแก้ไขได้โดยทำให้อาเจียนโดยเร็วและไม่ถึงกับเสีย ชีวิต
เห็ดมีพิษอีกกลุ่มหนึ่ง คือ เห็ดโอสถลวงจิต เห็ดในกลุ่มนี้จะมีสารเคมีไปบังคับประสาทให้เกิดจินตนาการเป็นภาพหลอน ใช้รับประทานแต่น้อยหรือเคี้ยวอมไว้ในปาก ในพิธีไสยศาสตร์ของชาวพื้นเมืองเม็กซิกัน ส่วนมากเป็นเห็ดในสกุล Pcilocybe บางชนิดใช้เป็นยาสมุนไพร เช่น เห็ดจิก หรือตีนตุ๊กแก ที่มีสรรพคุณขับถ่ายพยาธิตัวตืดในคน บางชนิดเป็นปาราสิตของพืชด้วยกัน เช่น เห็ดขอน (Fomes lignosus) ซึ่งทำให้รากยางพาราผุเปื่อยต้นตาย
เห็ดที่มีเนื้อแห้งและแข็งเหมือนไม้ หรือเหนียวคล้ายหนังจะไม่มีคนนำมารับประทาน แต่ชนิดที่อ่อนนุ่มหรือกรอบกรุบจะน่ารับประทานกว่า เห็ดจัดเป็นอาหารจำพวกพืชผัก แม้จะมีคุณค่าทางโภชนาการน้อยกว่าผักเพราะดอกเห็ดสดมีน้ำมากอยู่ถึง 90 % นอกจากนั้นจะมีโปรตีน ไขมัน เกลือ แร่ธาตุ วิตามิน (มีวิตามินบี 1 และบี 2 มากกว่าวิตามินอื่น ยกเว้นเห็ดที่มีสีเหลืองจะมีวิตามิน เอ มาก) จัดเป็นอาหารกลุ่มที่ย่อยยากเพราะมีเยื่อใยสูง ผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบย่อยไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป จึงควรเลือกรับประทานเฉพาะเห็ดที่ช่วยชูรสอาหารซึ่งใช้แต่น้อยก็เพียงพอ เช่น เห็ดหอม เห็ดบางชนิดมีรสชาติอร่อยมาก เช่น เห็ดโคน (Termite mushroom: Termitomyces sp.) อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ดื่มเหล้าหรือของมึนเมา จะทำให้เห็ดย่อยยากขึ้นเพราะแอลกอฮอล์ ทำให้สารอัลบูมินในเห็ดแข็งตัวมากขึ้น | | ด้วย ความที่เห็ดมีความหลากหลายในรูปร่างลักษณะทั้งที่รับประทานได้และเป็นเห็ด พิษ หลากหลายประเภท จึงมีการแบ่งชนิดและจำแนกเห็ดไว้ตามลักษณะดังนี้
++ การจำแนกทางพืชสวน ++
1. ตามความสามารถในการรับประทานแบ่งออกเป็น
เห็ดรับประทานได้(edible mushroom) ได้แก่ เห็ดที่เพาะเลี้ยงเป็นการค้า เช่น เห็ดฟาง เห็ดสกุลนางรม เห็ดหอม และเห็ดป่าบางชนิดที่ไม่มีสารพิษ เช่น เห็ดเผาะ เห็ดหล่ม เห็ดลม เห็ดโคน
เห็ดรับประทานไม่ได้หรือเห็ดพิษ(toadstools หรือ poisonous mushroom)ได้แก่ เห็ดพิษชนิดต่างๆ เช่น เห็ดระโงกหิน เห็ดกระโดงตีนต่ำ เป็นต้น 2. ตามสภาพธรรมชาติที่ขึ้นอยู่เป็นการแบ่งโดยอาศัยความสามารถในการใช้อาหารหรือตามวัสดุที่ใช้เพาะ แบ่งเป็น
เห็ดที่เจริญได้ดีบนส่วนของพืช หรือพืชสด (parasitic fungi) เช่น ท่อนไม้ ขี้เลื่อย ได้แก่ เห็ดสกุลนางรม เห็ดหูหนู เห็ดหูหนูขาว เห็ดหอม เห็ดหลินจือ
เห็ดที่เจริญได้ดีบนวัสดุเพาะที่ผ่านการหมักเพียงบางส่วน (saprophytic fungi) ได้แก่ เห็ดฟาง เห็ดถั่ว เห็ด Stropharia เป็นต้น
เห็ดที่เจริญได้ดีบนวัสดุเพาะที่ต้องผ่านการหมักอย่างสมบูรณ์ เจริญได้ดีบนปุ๋ยหมัก (saprophytic fungi) เช่น เห็ดแชมปิญอง เป็นต้น
เห็ดที่เจริญอยู่ร่วมกับรากไม้บางชนิดในลักษณะที่เป็นมัยคอร์ไรซา (symbiotic fungi) ได้แก่ เห็ดตับเต่า เห็ดมอเรล เห็ด matsutake เห็ดทรัฟเฟิล เป็นต้น
เห็ดที่ขึ้นอยู่บนรังปลวก (symbiotic fungi) ได้แก่ เห็ดโคน เป็นต้น
3. ตามอุณหภูมิที่ใช้ในการเจริญเติบโต
เห็ดที่ชอบอุณหภูมิสูงเป็นเห็ดเขตร้อน(tropical mushrooms) ได้แก่ เห็ดฟาง เห็ดหูหนู เห็ดนางลม เป็นต้น
เห็ดที่ชอบอุณหภูมิต่ำเป็นเห็ดเขตหนาว(temperate mushrooms) ได้แก่ เห็ดแชมปิญอง เห็ดหอม เห็ดเข็มทอง เป็นต้น
4. ตามการใช้ประโยชน์
ใช้เป็นอาหารประเภทพืชผัก ได้แก่ เห็ดที่รับประทานได้ทั่วไป
ใช้เป็นยารักษาโรคหรือสมุนไพร ได้แก่ เห็ดหอม เห็ดหูหนูขาว เห็ดหลินจือ เห็ดเข็มทอง เป็นต้น
ใช้สำหรับปรุงอาหารหรือเป็นเครื่องเทศ เช่น เห็ดหอม
ใช้เป็นเห็ดประดับ เช่น เห็ดในสกุลเห็ดหลินจือ ได้แก่ Ganoderma neo-japonicum
| | ++ การจำแนกทางพฤกษศาสตร์ ++ เห็ดราสามารถจำแนกได้เป็น 2 division ใหญ่ ๆ คือ
1.Division Myxomycota ได้แก่ ราเมือก (slime molds) ทั้งหมด
2.Division Eumycota ได้แก่ เห็ดราที่เหลือทั้งหมด (true fungi) ได้แก่ ราชั้นต่ำ (lower fungi) ราชั้นสูง (higher fungi) และเห็ดต่างๆ ใน division นี้ ยังแบ่งออกเป็น 5 subdivision คือ Mastigomycotina, Zygomycotina, Ascomycotina, Basidiomycotina และ Deuteromycotina
เห็ดราชั้นสูงหรือราที่มีขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่จัดอยู่ใน Subdivision Basidiomycotina มีเป็นส่วนน้อยที่อยู่ใน Ascomycotina ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะเห็ดที่อยู่ใน 2 Subdivision นี้เท่านั้น ซึ่งแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เห็ดที่นำมาเพาะเลี้ยง และเห็ดที่ไม่มีการเพาะเลี้ยง ดังต่อไปนี้**
เห็ดที่นำมาเพาะเลี้ยง ได้แก่ เห็ดหูหนู เห็ดแชมปิญอง เห็ดกระดุม เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดนางฟ้าภูฐาน เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหอม เห็ดหลินจือ เห็ดบด เห็ดลม เห็ดกระด้าง เห็ดฟาง เห็ดยานางิ เห็ดตีนแรด เห็ดจั่น เห็ดเข็มเงิน(ทอง) ฯลฯ
เห็ดที่ไม่มีการเพาะเลี้ยง ได้แก่ เห็ดไข่ห่าน เห็ดตับเต่า เห็ดโคน เห็ดขิง เห็ดแดง เห็ดพุงหมู เห็ดเผาะ เห็ดถอบ เห็ดมอเรล เห็ดโคนฝรั่ง ฯลฯ และ เห็ดพิษทั้งหมด
| | จำแนกตามลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีววิทยาของเห็ดรา(Morphology and Biology of Mushroom)++
จากการจำแนกเห็ดทางพฤกษศาสตร์ทำให้ทราบว่าสามารถแยกเห็ดราออกเป็น 2 จำพวก(division) กล่าวคือ
- Division Myxomycota ได้แก่ ราเมือก (slime mold) - Division Eumycota ได้แก่ เห็ดราที่เรียกว่า true fungi และยังแบ่งออกได้เป็น 5 subdivision ประกอบด้วย
1. Mastigomycotina และ 2. Zygomycotina ได้แก่ ราชั้นต่ำ สปอร์ของราจำพวกนี้จะสร้างอวัยวะที่เรียกว่า อับสปอร์ (sporangia) ซึ่งเป็น asexual spore คือเกิดสปอร์โดยไม่เกี่ยวข้องกับการใช้เพศ ได้แก่ ราน้ำ (water mould) ราขนมปัง (bread mould) pin mould และ downy mildew ฯลฯ
3. Deuteromycotina เป็นราที่ไม่สมบูรณ์ หรือ imperfect fungi ไม่ใช้สปอร์สืบพันธุ์ สปอร์จะถูกสร้างจากกลุ่มเส้นใยที่เป็นหมัน (sterile mycelium) หรือจากเส้นใยพิเศษ (specialized hyphae)
** แต่ในอีก 2 subdivision ที่มีความสำคัญในแง่ของการนำมาใช้ประโยชน์ หรือนำมาเพาะเลี้ยงเพื่อผลิตเห็ดได้แก่
4. Ascomycotina หรือ ascomycetes มีสปอร์สืบพันธุ์บรรจุในเซลล์พิเศษคล้ายถุง เรียกว่า ascus สามารถสร้างหรือก่อตัวเป็นลำต้นที่เรียกว่า fruiting body ขึ้นมาได้ นอกจากเห็ดราแล้ว ไลเคนส์ยังถูกจัดไว้ในจำพวกนี้ เห็ดราใน subdivision นี้ที่สำคัญ ได้แก่ เห็ดมอเรล เห็ดราที่เป็นโรคพืช ราแป้ง ราดำ ยีสต์
5. Basidiomycotina หรือ basidiomycetes มีสปอร์สืบพันธุ์อยู่ภายนอกเซลล์ หรืออยู่ด้านนอกของอวัยวะที่เรียกว่า basidium หรือฐานที่มีรูปร่างคล้ายใบพาย แล้วจะก่อตัวเป็นดอกเห็ด หรือ fruiting bodyเช่น เห็ดที่ขึ้นอยู่ตามท่อนไม้ เห็ดตับเต่า เห็ดร่างแห เห็ดรังนก เห็ดเผาะ เห็ดหูหนูขาว ราสนิม ราเขม่าดำ เป็นต้น
++ จำแนกตามรูปร่างและโครงสร้างของเห็ดรา (Shape and structure)++
หากแยกลักษณะของรูปร่างและโครงสร้างทั่วไป สามารถแยกเห็ดรา ออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้หลายกลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 1. gill fungi กลุ่ม 2. boletes กลุ่ม 3. club, coral, cauliflower, fan-like or irregularly lobed fungi กลุ่ม 4. toothed fungi กลุ่ม 5. Chanterelles และ trumpets
-------------------------------------- @ ^ - ^ @ ----------------------------------------- ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ดำเกิง ป้องพาล.เอกสารประกอบคำบรรยายวิชา พส.413 "การผลิตเห็ด(Mushroom Production). สาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.เชียงใหม่.183 หน้า
| |
ขอบคุณขัอมูลจาก http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=1278&s=tblplant
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น