วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เทคนิคการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน

เทคนิคการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน

ต้นอ่อนทานตะวัน เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับคุณบุญญวัฒน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เกษตรกรผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการทำเกษตรแบบผสมผสาน ที่ได้ทำการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน เพื่อส่งขายให้กับร้านอาหารภายในชุมชน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อนำไปประกอบอาหารในเมนูที่ได้รับความนิยม คือเมนู ต้นอ่อนทานตะวันผักน้ำมันหอย ต้มจืดต้นอ่อนทานตะวัน ใส่ในก๋วยเตี๋ยว แกงส้ม ทำสุกี้ เป็นต้น ซึ่งจากการลงพื้นที่คุณบุญญวัฒน์ ได้แนะเทคนิคในการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน ด้วยวิธีการและรายละเอียดดังนี้

คุณบุญญวัฒน์  สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
                    คุณบุญญวัฒน์  สนิทวงศ์ ณ อยุธยา  หรือ นายสัตวแพทย์ บุญญวัฒน์  สนิทวงศ์ ณ อยุธยา  เกษตรกรผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการทำเกษตรแบบผสมผสาน  ปัจจุบันนี้คุณบุญญวัฒน์  อายุ  67  ปี  อาศัยอยู่บ้านเลขที่  126  ม. 4  ต.มวกเหล็ก  อ.มวกเหล็ก        จ.สระบุรี   ซึ่งเป็นคนที่ผันตัวเองจากการเป็นสัตว์แพทย์  มาทำการเกษตรอย่างเต็มตัว  หลังจากที่ได้ลาออกมาซึ่งคุณบุญญวัฒน์  ได้เริ่มทำการเกษตรแบบผสมผสาน  มีการปลูกพืชผักแบบปลอดสารพิษ  การเลี้ยงสัตว์  ปัจจุบันนี้   มีการเพาะต้นอ่อนทานตะวันแบบปลอดสารพิษ   เป็นหลัก  รวมถึงยังมีการปลูกพืชผักชนิดอื่นๆ   รวมถึงไม้ผล  และยังมีการเลี้ยงสัตว์  เช่นการเลี้ยงวัว เลี้ยงแพะ  เลี้ยงไก่  เป็นต้น  และนอกจากนั้นก็ยังมีการทำเกษตรแบบอื่นๆ  อีกด้วย
ต้นอ่อนทานตะวัน
  เทคนิคการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน

วัตถุดิบ
  1.ก้อนเชื้อเห็ดเก่าที่ร่อนแล้ว  1  กิโลกรัม
  2.ถ่านแกลบ  1  กิโลกรัม
วิธีการทำ
  -นำก้อนเชื้อเห็ดเก่ามาทุบให้แตก  แล้วใช้ตะแกรงร่อน เลือกเอาเฉพาะส่วนที่ผง  จากนั้นก็นำมาผสมกับถ่านแกลบที่เตรียมไว้
***ถ่านแกลบ  ใช้ในการปรับสภาพดินมีแร่ธาตุอาหารสำหรับพืช

วิธีเพาะเมล็ดทานตะวัน
1. ล้างเมล็ดทานตะวันให้สะอาด และแช่น้ำไว้ 1คืน หรือรอให้มีรากเล็กๆโผล่ออกมา
2.เทวัสดุที่ใช้เพาะลงในวัสดุที่เตรียมไว้ เกลี่ยให้เรียบแล้วเรียงเมล็ดทานตะวันให้เป็นแนวควรทำอย่างเบามือเพราะราก ของเมล็ดทานตะวันอาจจะช้ำและชะงักการเจริญเติบโต กลบทับด้วยวัสดุบางๆแล้วรดน้ำให้ชุ่ม
3.เก็บไว้ในที่มืดหรือคุมด้วยพลาสติกสีดำ แต่ถ้าต้องการให้ต้นอ่อนได้รับแสงแดดเพื่อสร้างคลอโรฟินก็สามารถเพาะในที่ ร่มรำไรได้ หมั่นรดน้ำอย่างน้อยวันละ 3เวลา
4.ประมาณ 3- 4วัน เราก็สามารถเก็บต้นอ่อนของเมล็ดทานตะวันมารับประทานได้


ขอบคุณที่มาข้อมูล
http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=2496&s=tblblog
แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
ชื่อ - นามสกุล : คุณบุญญวัฒน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา  อายุ : 67 ปี
ที่อยู่ :  124 หมู่ที่4 ตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น