วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

รถไฟความเร็วสูง อนาคตการขนส่งภายในอาเซียน

ระบบขนส่งด้วยรถไฟความเร็วสูง ทั้งในประเทศและเ้ชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ในอาเซียน โดยประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลาง
(ขอให้เกิดเป็นรูปธรรม...ทีเถ้อะ) คนไทยทำได้ทุกอย่าง (ถ้าำไม่โกงกินจนน่าเกลียด)
ภาพปัจจุบัน

     ในการนำระบบรถไฟความเร็วสูง (High Speed Rail,HSR) มาใช้ในประเทศไทย  ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในทางสายต่างๆ อยู่หลายครั้ง เช่น High  Speed  Train  Study (Thailand) Final Report,Volume II,NESDB,March 1994. หรือ System-Wide  Master  Plan  and  Feasibility   Study  for  the  Kingdom  of  Thailand  of  High  Speed  Rail  System  for  State  Railway   of  Thailand, Chaiseri – Schimpeler  Co.,Ltd  in Association with Jordan Jones & Goulding Inc. and Post, Buckley International, Inc., July 1996.
   การพิจารณาจะเน้นการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงภายในประเทศ  และการศึกษามักจะพบว่าความคุ้มทุนทางเศรษฐกิจเป็นไปได้ยาก   เส้นทางที่พอจะเป็นไปได้มากที่สุดคือเส้นทางสายตะวันออกเชื่อมกรุงเทพฯ   กับท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ  และต่อออกไปสู่ Eastern Seaboard  แต่เส้นทางสายนี้  ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ระบบรถไฟความเร็วสูงมาก  เนื่องจากระยะทางไม่ไกลนัก

 ขอขอบคุณข้อมูล  เรื่องบทบาทของรถไฟไทยในศตวรรษที่ 21 ข้อมูลจากการรถไฟแห่งประเทศไทย

  ทิศทางใหม่แห่งการขนส่งความเร็วสูง
cid:1.3270295673@web77803.mail.sg1.yahoo.comผมคิดว่าในอนาคตรถไฟความเร็วสูงในไทยเกิดขึ้นแน่นอนไม่เกิน 5 ปี เพราะว่าภูมิรัฐศาสตร์ของไทยคือ หัวใจเชื่อมต่ออาเซียน และจีนย่อมจะไม่ปล่อยให้เกิด Missing Links ที่จะต่อท่อนำคนและสินค้าออกสู่ ทะเลแน่นอน แผนแรกคือการเข้าที่หนองคาย ลงสู่กรุงเทพฯ-ภาคใต้ แผนที่สองจีนทะลุพม่าเข้าที่กาญจนบุรี ลงสู่ใต้ และแผนที่สามที่น่าจะเกิดขึ้นคือผ่านทางภาคเหนือของไทยเพื่อไปสู่ Hub ที่หัวลำโพงก่อนที่จะแตกสายไปสู่ภาคใต้ สู่ตลาดอาเซียน หรือไปทาง ตะวันออก หรือข้ามไปกัมพูชา , เวียดนาม
cid:2.3270295673@web77803.mail.sg1.yahoo.com

cid:3.3270295673@web77803.mail.sg1.yahoo.com
ล่าสุดทางดร. จุฬา สุขมานพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะทำงานย่อย เพื่อดำเนินการจัดทำร่างบันทึกข้อตกลงร่วม (เอ็มโอยู) ระหว่างไทย-จีน ฝ่ายไทยเปิดเผยว่า ทาง ประเทศจีนขอใช้สัญญาสัมปทานจำนวน 50 ปี ซึ่งขัดกับข้อกฎหมายไทยที่กำหนดให้สัมปทานสูงสุด เพียง 30 ปีเท่านั้น รวมทั้งต้องพิจารณาเกี่ยวกับการแบ่งสัดส่วนการลงทุนด้วยว่าจะใช้รูปแบบใด
 
สัดส่วนการลงทุนจะเป็น 50% หรือ 51 ต่อ 49% หรือไม่ เพราะโครงการดังกล่าวไม่ใช่แค่เดินรถ ระหว่างประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการเดินทางภายในประเทศด้วย   ทั้งนี้จะได้ร่างเอ็มโอยูใหม่ในปลายปีนี้ก่อนที่จะหาข้อสรุปในต้นปี 2554 ก่อนสรุปรายละเอียดก่อนจัดทำเอ็มโอยูฉบับสมบูรณ์ เสนอไปยังที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ จากนั้นจึงมีการลงนามกับจีนต่อไป
cid:4.3270295673@web77803.mail.sg1.yahoo.com
cid:5.3270295673@web77803.mail.sg1.yahoo.com
ขณะที่ช่วงต้นปีหน้าเหมือนกันที่ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ จะส่งผลรายงาน สรุปหลังจากทดสอบความสนใจภาคเอกชนในการลงทุน ( Market Sounding) ในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง 2 เส้นทาง มูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท ในเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง 221 กิโลเมตร และกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 754 กิโลเมตร เพื่อเสนอให้คณะกรรมการเพื่อพิจารณาแนวทางการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรูปแบบพีพีพี ชุดที่นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานภายในเดือนธันวาคมนี้เพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีได้ในช่วงเดือนมกราคม 2554
cid:6.3270295674@web77803.mail.sg1.yahoo.com

ซึ่งเบื้องต้นพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ความสนใจลงทุนในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่มากกว่า

 
เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง เนื่องจากมองว่าเส้นระยองมีระยะทางสั้นเกินไป โดยเฉพาะนักลงทุน
จากญี่ปุ่น   ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะประเทศจีนให้ความสนใจลงทุนเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย

 
ตอนนี้พูดง่าย ๆ คือรถไฟความเร็วสูงใช้ไทยเป็นเวทีต่อรอง และคานอำนาจทางเศรษฐกิจไปเสียแล้ว
ระหว่าง จีน และญี่ปุ่น
cid:4.3270295673@web77803.mail.sg1.yahoo.comcid:7.3270295674@web77803.mail.sg1.yahoo.com

อย่างไรก็ตามทาง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ได้ร่างกำหนดค่าโดยสาร + เวลาเดินทาง

 
สำหรับเครือข่ายไฮสปีดเทรน ไว้แล้วและคาดหวังไว้ว่าราคาน่าจะลดลงอีก    

 
cid:8.3270295674@web77803.mail.sg1.yahoo.com
สายเหนือ:  
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - นครสวรรค์ (หนองปลิง) เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 12 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 384 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - พิษณุโลก เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 54 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 611 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - เด่นชัย เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 38 นาที 24 วินาที ค่าโดยสาร 845 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - เชียงใหม่ เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 43 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 1,190 บาท
cid:9.3270295674@web77803.mail.sg1.yahoo.com

สายตะวันออกเฉียงเหนือ:
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - นครราชสีมา เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 16 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 410 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - ขอนแก่น เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 13 นาที 12 วินาที ค่าโดยสาร 709 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - หนองคาย เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 4 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 984 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - สุรินทร์ เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 3 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 661 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - อุบลราชธานี เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 51 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 912 บาท
cid:10.3270295674@web77803.mail.sg1.yahoo.comcid:11.3270295674@web77803.mail.sg1.yahoo.com

สายใต้:  
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - หิวหิน เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 6 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 360 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - แม่กลอง - หิวหิน เวลาเดินทาง 0 ชั่วโมง 55 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 295 บาท    
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - สุราษฎร์ธานี เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 14 นาที 24 วินาที ค่าโดยสาร 1,037 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - หาดใหญ่ เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 41 นาที 24 วินาที ค่าโดยสาร 1,499 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - ปาดังเบซาร์ เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 54 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 1,571 บาท
cid:6.3270295674@web77803.mail.sg1.yahoo.com

สายตะวันออก:  
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) - ฉะเชิงเทรา - ระยอง เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 6 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 350 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) - บางปะกง - ระยอง เวลาเดินทาง 0 ชั่วโมง 58 นาที 12 วินาที ค่าโดยสาร 305 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) - ฉะเชิงเทรา - จันทร์บุรี เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 39 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 530 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) - ฉะเชิงเทรา - อรัญประเทศ เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 15 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 400 บาท    

 
cid:12.3270295674@web77803.mail.sg1.yahoo.comcid:13.3270295674@web77803.mail.sg1.yahoo.com

ถ้าราคาเป็นอย่างนี้จริงผมคิดว่าในอนาคตสายการบินโลว์คอสต์อาจจะต้องกระอัก เพราะราคาน่าสนเฉพาะ
เส้นทางเชียงใหม่ 4 ชั่วโมงราคาพันนิด ๆ   ตอนนี้ก็อยากให้เกิดขึ้นดีกว่า และสายการบินในไทยจะต้อง
ปรับตัวครั้งใหญ่อีกระลอก แต่ต้องย้ำอีกครั้งว่าต้องกำกับตรวจสอบโครงการอย่างเข้มงวดเพราะวงเงินสูง
เหลือเกินตัดเปอร์เซนต์ 20-30% ก็ไม่เบาเหมือนกันครับ!
cid:14.3270295674@web77803.mail.sg1.yahoo.comcid:15.3270295674@web77803.mail.sg1.yahoo.com 

Credit : http://www.thai-austrian.com/
   and : Pichamon Kumlaeid
 

  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น