วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

กวาวเครือขาว - ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ ม.อุบล : thaicrudedrug.com

กวาวเครือขาว - ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ ม.อุบล : thaicrudedrug.com

กวาวเครือขาว

ชื่อเครื่องยา

กวาวเครือขาว

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา


ได้จาก

หัว ราก

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

กวาวเครือขาว

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

กวาวเครือ ทองเครือ ทองกวาว ตานจอมทอง จอมทอง กวาวหัว

ชื่อวิทยาศาสตร์

Pueraria candollei Graham ex Benth. var mirifica (Airy Shaw et Suvat.) Niyomdham. Pueraria candollei var candollei Graham ex Benth.

ชื่อพ้อง


ชื่อวงศ์

Leguminosae (Fabaceae)-Papilionoideae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา :
หัวใต้ดิน กลม มีหลายขนาด หัวที่มีอายุมากมีขนาดใหญ่ อาจมีน้ำหนักมากถึง 20 กิโลกรัม ที่เปลือก เมื่อเอามีดปาดจะมียางสีขาวคล้ายน้ำนม เนื้อในสีขาวคล้ายมันแกว เนื้อจะเปราะ มีเส้นมาก รสเย็นเบื่อเมา หัวที่ยังเล็ก เนื้อในจะละเอียด มีน้ำมาก

เครื่องยา กวาวเครือขาว

หัวกวาวเครือขาว

หัวกวาวเครือขาว

หัวกวาวเครือขาว


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี :
สารที่ใช้เป็นสารเครื่องหมาย (marker) คือ miroestrol และ deoxymiroestrol


สรรพคุณ :
ตำรายาแผนโบราณ ใช้ หัว รสเย็นเบื่อเมา บำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง บำรุงสุขภาพ บำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะสำหรับผู้สูงอายุ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้อ่อนเพลีย ผอมแห้ง นอนไม่หลับ มีฮอร์โมนเพศหญิงสูง ทาหรือรับประทานทำให้เต้มนมขยายตัว เส้นผมดกดำ เพิ่มเส้นผม เป็นยาปรับรอบเดือน อาจทำให้แท้งบุตรได้ บำรุงความกำหนัด ทำให้อวัยวะสืบพันธุ์และมดลูกมีเลือดมาคั่งมากขึ้น บำรุงอวัยวะสืบพันธุ์ให้เจริญ แก้โรคตาฟาง ต้อกระจก ทำให้ความจำดี ทำให้มีพลัง เคลื่อนไหวคล่องแคล่ว บำรุงโลหิต กินได้นอนหลับ ผิวหนังเต่งตึงมีน้ำมีนวล ถ้ารับประทานเกินขนาดจะเป็นอันตรายได้ ทำให้มีอาการมึนเมา คลื่นไส้อาเจียนเปลือกเถา รสเย็นเบื่อเมา แก้พิษงู
ตำรายาพม่า ใช้ หัว เป็นยาอายุวัฒนะของทั้งหญิงและชาย ผสมน้ำผึ้งอย่างละเท่าๆกัน ปั้นกินวันละ 1 เม็ด ขนาดเท่าผลพริกไทย คนหนุ่มสาวไม่ควรรับประทาน


รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา :
สถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข ระบุขนาดการใช้ดังนี้

การใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยาบำรุงร่างกาย ให้รับประทานยาตำรับที่มีส่วนประกอบของผงกวาวเครือขาว ไม่เกิน 1-2 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัมต่อวัน หรือประมาณวันละไม่เกิน 50-100 มิลลิกรัม

อาการข้างเคียงที่อาจพบได้คือ เจ็บเต้านม มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ปวดหรือเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
ข้อห้ามใช้ ห้าม ใช้ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ เพราะสารที่มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงในกวาวเครือขาวมีความแรงของตัวยาจะ รบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศ และระบบประจำเดือนได้
ข้อควรระวัง ห้ามรับประทานเกินขนาดที่แนะนำให้ใช้
ตำรายาของหลวงอนุสารสุนทร ระบุขนาดที่ใช้ของหัวกวาวเครือขาว โดยให้รับประทานกวาวเครือขาวผสมน้ำผึ้ง ขนาดเท่าเมล็ดพริกไทย 1 เมล็ดต่อวัน รับประทานมากจะทำให้มึนเมาเป็นพิษ คนหนุ่มสาวไม่ควรรับประทาน


องค์ประกอบทางเคมี :
สารที่มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ สารกลุ่ม chromene ได้แก่ miroestrol deoxymiroestrol สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ เช่น peurarin kwakhurin coumestrol mirificoumestan daidzin daidzein mirificin genistein genistin


การศึกษาทางเภสัชวิทยา :
ฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์ : กวาว เครือขาวมีผลยับยั้งการเกี้ยวพาราสี การผสมพันธุ์และการเจริญของอัณฑะในนกพิราบเพศผู้ และยับยั้งการออกไข่โดยยับยั้งการเจริญของฟอลลิเคิลในนกพิราบตัวเมีย ส่วนการทดลองในหนูเพศเมียที่กินกวาวเครือขาวพบว่า มีผลยับยั้งการให้นมของหนูที่กำลังให้นม โดยไปยับยั้งการเจริญของต่อมน้ำนม และการสร้างน้ำนม มีผลป้องกันการตั้งครรภ์ เมื่อให้หนูกินในช่วงตั้งท้องวันที่ 1-10 ติดต่อกัน หรือให้กินในช่วงที่มีการเคลื่อนย้ายของตัวอ่อน โดยทำให้เกิดการแท้ง และเมื่อให้ในหนูที่ตัดรังไข่ออก กินกวาวเครือพบว่าน้ำหนักของมดลูกและปริมาณของเหลวในมดลูกเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับที่พบในหนูที่ได้รับ ethinyl estradiol และมีรายงานว่ากวาวเครือขาวมีฤทธิ์คุมกำเนิดที่ดีในหนูขาวเมื่อให้ในขนาด 1 กรัม/ตัว/สัปดาห์ ส่วนผลของกวาวเครือขาวต่อหนูเพศผู้พบว่า สัตว์มีพฤติกรรมการสืบพันธุ์ลดลง และมีขนาด และน้ำหนักของอัณฑะ epididymis ต่อมลูกหมาก และ seminal vesicles ลดลง รวมทั้งมีจำนวนตัวอสุจิ และเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหวของตัวอสุจิลดลง

(เอกสารอ้างอิง : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2546. ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยา ของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 2. โรงพิมพ์การศาสนา:กรุงเทพมหานคร.)

การศึกษาทางคลินิก :
ฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์ : การ ศึกษาทางคลินิกในระยะที่ 2 ในอาสาสมัครกลุ่มก่อนและหลังวัยหมดประจำเดือน ที่มีอาการพร่องฮอร์โมนเอสโตรเจน จำนวน 37 ราย ใช้เวลา 6 เดือน พบคะแนนของอาการวัยหมดระดูลดลงจาก 35.6 เป็น 15.1 และ 32.6 เป็น 13.69 ในกลุ่มที่ได้รับ 50 มก.ต่อวัน และ 100 มก.ต่อวัน ตามลำดับ แต่พบอาการข้างเคียง คือ อาการคัดตึงเต้านมประมาณร้อยละ 35 และอาการเลือดออกกระปริดกระปรอยประมาณร้อยละ 16.2

(เอกสารอ้างอิง : รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล. 2554. องค์ความรู้จากงานวิจัยสมุนไพรไทย 10 ชนิด กระชายดำ กวาวเครือขาว ขมิ้นชัน ขิง บัวบก พริกไทย ไพล ฟ้าทะลาย มะขามป้อม มะระขี้นก. บริษัท 21 เซ็นจูรี จำกัด:กรุงเทพมหานคร.)

การศึกษาทางพิษวิทยา :
การศึกษาพิษเฉียบพลันของผงหัวกวาวเครือขาวในรูปผงยาแขวนตะกอนในน้ำ พบว่าไม่ทำให้เกิดอาการพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่ามากกว่า 16 กิโลกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม การทดสอบพิษกึ่งเรื้อรังในหนูขาวพันธุ์วิสตาร์โดยการป้อนผงหัวกวาวเครือขาว ในรูปผงยาแขวนตะกอนในน้ำ ขนาด 10, 100 และ 1,000 มก./กก./วันติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 90 วันพบว่าการให้ในขนาด 10 และ 100 มก./กก./วัน ไม่ทำให้เกิดความผิดปกติต่อค่าโลหิตวิทยา และค่าทางชีวเคมี หรือพยาธิสภาพใดๆ แต่การให้ในขนาด 1,000 มก./กก./วัน ทำให้หนูเกิดภาวะโลหิตจาง จำนวนเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ระดับโคเลสเตอรอล น้ำหนักอัณฑะ ของหนูเพศผู้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และมีอัตราการเกิด hyperemia ของอัณฑะ ในหนูเพศเมียที่ได้รับในขนาด 100 และ 1,000 มก./กก./วันพบว่าระดับโคเลสเตอรอลดลง มดลูกบวมเต่ง มีอัตราการเกิด cast ที่ไตสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น