วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

สร้างเครื่องตะบันน้ํา - เกษตรออนไลน์

สร้างเครื่องตะบันน้ํา - เกษตรออนไลน์

เครื่องตะบันน้ำ

เครื่องตะบันน้ำ (เพิ่มแบบ การทำแล้ว)

z

เมื่ออาทิตย์ก่อนทาง NGOs ทางใต้ เขามาชวนเป็นวิทยากร เรื่อง mini-hydro วันนั้นก็มีการคุยกับชาวบ้าน(บางที่ก็ฟังคำถามไม่ค่อยออก ภาษาใต้) และมีการติดหนี้กันไว้เรื่องหนึ่งคือ เรื่องแบบเครื่องตะบันน้ำ (Hydraulic ram) ผมเลยถือโอกาสเขียนเป็นบทความเล็กๆพร้อมกันนี้เลย อนึ่งแบบและผลกาทดลองนี้ไม่ได้เป็นการทดลอง และความคิดของ PlanEnergy แต่เป็นการเรียบเรียงมา โดยอ้างอิงที่มาไว้ท้ายบทความ นโยบายในการผลิต ของเรายังไม่มีครับ เพื่อไม่ให้เสีบเวลาเชิญพบกับเครื่องตะบันน้ำสิ่งมหัศจรรย์ ทางเทคโนโลยี อายุกว่า 200 ปี ได้แล้วครับ


ข้อดีของเครื่องตะบันน้ำ

1.ไม่ต้องการพลังงานจากภาพนอก ทำงาน 24 ชม./วัน ไม่กิน ไฟฟ้า หรือน้ำมัน กินแต่น้ำ

2.มีโครงที่ไม่ซับซ้อน คือมีส่วนเคลื่อนไหวเพียง 2 ส่วน (วาล์ 2 ตัว)

ส่วนประกอบของระบบเครื่่องตะบันน้ำ

rampump

การทำงาน

หลักการคือ การทำให้น้ำที่ไหลมาด้วยความเร็ว หยุดกระทันหัน เหมือนเราเปิดก็อกน้ำ ที่ส่งมาจากแท็งน้ำสูงๆ แล้วเราปิดทันที่ จะเกิดแรงดันตีกลับทำให้ท่อน้ำสะบัด ความดันชั่วขณะนี้ จะนำไปใช้ในการส่งน้ำต่อไปยังถังเก็บที่สูงกว่า โดยเราต้องยอมสูญเสียน้ำจำนวนหนึงไป ตามหลักอณุรักณ์พลังงาน คือเราดึงเอาพลังงานจากน้ำที่ไหลเข้า มาให้น้ำที่ส่งไปยังถังเก็บ และทิ้งน้ำที่เหลือพลังงานน้อยออกไปทางวาล์วน้ำทิ้ง

ramcyccle

แบ่งเป็น 3 ช่วง

1 ช่วงเร่งความเร็วน้ำเข้า

โดยวาล์วน้ำทิ้งจะเปิดอยู่ด้วยน้ำหนักที่กด ทำให้น้ำจากท่อน้ำเข้าไหล เข้าตัวเรือนปั๊ม และออกที่วาลวน้ำทิ้ง ควาเร็วของน้ำก็จะค่อยๆเพิ่มขึ้น (ช่วง A ) เมื่อความเร็วถึงจุดหนึ่ง( Vm) กระแสน้ำจะสามารถ พยุงวาล์วน้ำทิ้งเอาชนะน้ำหนักที่กดวาล์วได้ ทำให้วาล์วน้ำทิ้งปิดทันที่ (ช่วง B)

2 ช่วงส่งน้ำ

เมื่อน้ำถูกทำให้หยุดกระทันหัน ทำให้เกิดความดันสูงในเรือนปั๊ม ความดันนี้สามารถชนะความดันในห้องความดันได้ ทำให้น้ำสามารถไหลผ่านวาล์วความดันทางเดียว เข้าไปยังส่วนท่อส่งน้ำออก(ช่วง C) ความดันในตัวเรือนปั๊มจะค่อยๆลดลงเรื่อยๆ จนไม่สามารถชนะความดันในห้องความดันได้ ทำให้วาล์วความดันปิดอีกครั้ง(ที่จุด d)

3 การไหลย้อน

น้ำจะไหลย้อนกลับมาทางท่อน้ำเข้า ทำความดันในปั๊มลดลงจนต่ำกว่าความดันบรรยากาศ อากาศบางส่วนไหลเข้ามาทาง วาล์วเติมอากาศเพื่อรอการบรรจุไปในห้องความดันในรอบการทำงานหน้า (การเติมอากาศเล็กน้อยเข้าไปในห้องความดัน ทำให้เราแน่ใจว่าอากาศจะไม่หมดไปกับน้ำที่อาจพาไปกับท่อส่งน้ำ) ความดันที่ลดลงทำให้วาล์วน้ำทิ้งเปิดอีกครั้ง (ด้วยน้ำหนักที่กด) เป็นอันครบรอบการทำงาน

อ้างอิง

1.Hydraulic Rams For Off-Stream Livestock Watering

Cooperative Extension Service/The University of Georgia College of Agriculture and Environmental Sciences/Athens

2.HYDRAULIC RAM MADE FROM STANDARD PLUMBING PARTS

Cooperative Extension Service/The University of Georgia College of Agriculture and Environmental Sciences/Athens

3.HYDRAULIC RAM PUMP SYSTEM DESIGN AND APPLICATION

Dr. Abiy Awoke Tessema Head, Equipment Design Research, Development and Technology Adaptation Center Basic Metals and Engineering Industries Agency, P.O. Box 1180, Addis Ababa, Ethiopia ESME 5th Annual Conference on Manufacturing and Process Industry, September 2000 Reprinted with ESME permission by the African Technology Forum 4.HYDRAULIC RAM PUMP Teferi Taye Senior Mechanical Engineer Energy Division, Equatorial Business Group (EBG) Plc, Addis Ababa, Ethiopia Published in the Journal of the ESME, Vol II, No. 1, July 1998 Reprinted with ESME permission by the African Technology Forum

5.How does a hydraulic ram pump work?

http://www.howstuffworks.com/

มาถึงแบบการทำบ้าง ผมหาจากใน web โดยเลือกที่สามารถหาวัสดุในการทำได้ไม่ยาก แบบ ,ภาพ ,ตลอดจนเนื้อหานี้ได้จากClemson University Cooperative Extension, Laurens County

.( http://www.clemson.edu/irrig/Equip/ram.htm )

z
z
  • ส่วนประกอบ
    1 1-1/4" valve

    2 1-1/4" tee (สามทาง)

    3 1-1/4" union

    4 1-1/4" brass swing check valve (เชควาล์ว แบบบานพับ)

    5 1-1/4" spring check valve (เชควาล์ว แบบมีสปริง)

    6 3/4" tee (สามทาง)

    7 3/4" valve

    8 3/4" union

    9 1-1/4" x 3/4" bushing (ท่อลด)

    10 1/4" pipe cock (วาล์ว)

    11 100 psi gauge (เกย์ความดัน)

    12 1-1/4" x 6" nipple (ท่อตรง)

    13 4" x 1-1/4" bushing (ท่อลด)

    14 4" coupling (ข้อต่อตรง)

    15 4" x 24" PR160 PVC pipe (ท่อPVC ทนความดัน 160 psi)

    16 4" PVC glue cap 8 3/4" union (ฝาปิด)

    17 3/4" x 1/4" bushing (ท่อลด)
ส่วนประกอบแต่ละอัน ต่อกันด้วยนิปเปิล เราสามารถประกอบจากท่อ PVC หรือท่อกาวาไนส์(ท่อแป๊ป) ก็ได้ แต่แนะนำว่าท่อความดัน(หมายเลข 15) ถ้าเป็น PVC จะช่วยลดน้ำหนักได้มาก
ข้อแนะนำในการประกอบและใช้งาน ท่อความดัน(หมายเลข 15) ให้ใส่ยางในรถตัดเป็นแผ่นกลมขนาดพอดีกับท่อด้านใน ไม่คับไม่หลวม แผ่นยางนี้ช่วยรักษาอากาศ ภายในท่อความดัน ไม่ให้เสียไปกับน้ำขาออก (สังเกตุว่า ตะบันน้ำแบบนี้ไม่มีวาล์วเติมอากาศ snifter valve) หากจำเป็นต้องเปลี่ยนยางใน ก็ทำการตัดท่อแล้วใช้ข้อต่อตรงต่อเหมือนเดิม (แบบเดิมใช่ข้อต่อแบบเป็นเกลียว แต่มีปํญหาเรื่องการรั่ว เลยใช้แบบทากาว) การทำงานของวาล์วต่างๆ วาล์วหมายเลข 1 เป็นทางน้ำเข้า และยูเนียนหมายเลข 8 เป็นทางออกน้ำไปยังถงเก็บ เช็ควาล์วบานพับหมายเลข 4 เป็นวาล์วน้ำทิ้ง วาล์วนี้เตอนเริ่มต้นทำงานเราใช้นิ้วกดให้น้ำไหลออกในครั้งแรก
z
การติดตั้งวาล์วน้ำทิ้งปรับแนวของสลักยึดบาน พับวาล์วให้อยู่ในแนวเดียวกับ แนวท่อน้ำเข้า โดยปรกติถ้าเราต้องการ ความดันน้ำออกให้มากที่สุด(แต่จัเสียน้ำทิ้งมาก และอัตราไหลต่ำ) เราจะหมุนท่อน้ำทิ้งให้ตั้งฉากกับแนวระดับ (น้ำต้องใช้ความเร็วมากในการพาให้ลิ้นวาล์วปิด) แต่เราสามารถปรับมุมของท่อน้ำออกกับแนวระดับที่มุมอื่นๆ เพื่อความเหมาะสมตามความต้องการ วาล์วเปิดปิดอื่นแนะนำให้ใช้แบบบอลวาล์ว แทนแบบประตูน้ำ เพื่อความทนทานต่อแรงกระแทกของน้ำ เกย์ความดันหมายเลข 11 ใช้ในการทดสอบความดันของอากาศในท่อความดันก่อน เดินเครื่องใช้งาน ในระหว่างใช้งาน เราปิดวาล์วหมายเลข 11 เพื่อป้องกันการเสียของเกย์ความดัน (บางที่เราอาจทอดเกย์ออกเลย หลังติดตั้งเรียบร้อย) ท่อน้ำเข้า ท่อส่งน้ำเข้าควรเป็นท่อกาวาไนส์เนื่องจากมีความยืดหยุ่นน้อย(ไม่ยุบไม่ ขยาย) ทำให้ประสิธิภาพของเครื่องตะบันน้ำดี แต่ท่อPVC ก็ยังคงใช้งานได้พอใช้ ความยางของท่อน้ำเข้า(วัดจากแหล่งน้ำ) ที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 150-1,000 เท่าของ เส้นผ่านศูนย์กลางของท่อน้ำเข้า ตัวอย่างตามแบบท่อน้ำเข้า ขนาด 1-1/4 นิ้ว (1.25 นิ้ว) ความยาวท่อก็ควรอยู่ระหว่าง 187.5 นิ้ว (150 x 1.25) หรือ 15.6 ฟุท ถึง 1250 นิ้ว (1000 x 1.25 ) หรือ 104 ฟุท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น