นี่สิ..ลูกผู้ชายตัวจริง (ขอเรียกว่า ยอดคุณพ่อ แห่งศตวรรษ)
จากเรื่องจริง
ลูกชายถามพ่อว่า
พ่อครับ พ่อจะเต็มใจไปวิ่งมาราธอนกับผมหรือเปล่า
แม้ว่าพ่อจะเป็นโรคหัวใจและอายุมากแล้ว เขาตอบลูกว่า ได้สิลูก
แล้วพ่อกับลูกก็ไปวิ่งมาราธอนด้วยกัน
แม้ว่าพ่อจะเป็นโรคหัวใจและอายุมากแล้ว เขาตอบลูกว่า ได้สิลูก
แล้วพ่อกับลูกก็ไปวิ่งมาราธอนด้วยกัน
อีกครั้ง ลูกชายถามพ่อว่า
พ่อครับ เราไปแข่งวิ่งมาราธอนด้วยกันอีกไหมครับ
พ่อตอบลูกชายเช่นเดิมว่า ได้สิลูก
สองพ่อลูกลงแข่งมาราธอนด้วยกันอีกครั้ง
อีกวันนึง ลูกชายบอกพ่อว่า
พ่อครับ ไปแข่ง Iron Man กับผม นะครับพ่อ
พ่อครับ ไปแข่ง Iron Man กับผม นะครับพ่อ
ถึงตรงนี้ เผื่อคุณไม่รู้ว่า iron man คืออะไร
iron man หรือ การแข่งขันยอดมนุษย์เหล็ก
ซึ่งเป็นการแเข่งขันไตรกีฬาที่โหดที่สุด
คุณต้องว่ายน้ำ 4 กิโล ขี่จักรยาน 180 กิโล วิ่งอีก 42 กิโล
คุณต้องว่ายน้ำ 4 กิโล ขี่จักรยาน 180 กิโล วิ่งอีก 42 กิโล
ติดต่อกันจนกว่าจะเข้าเส้นชัย
อ่านแค่นี้ คุณอาจจะยังไม่รู้สึกอะไร จนกว่าคุณจะได้ดูคลิปนี้
VDO แข่งขันไตรกีฬา
Father runs triathlon with his son in tow
VDO รวมเรื่องราว ตั้งแต่เด็ก
VDO แข่งขันไตรกีฬา
Father runs triathlon with his son in tow
VDO รวมเรื่องราว ตั้งแต่เด็ก
ขอสารภาพว่าตอนแรกที่อ่านข้อความข้างบนนี้จากฟอร์เวิร์ดเมล์
ที่เพื่อนส่งมาให้ก็ยังไม่รู้สึกอะไร จนได้เปิดดูคลิปใน you tube นั่นแหละ
ถึงได้มีอาการแอบน้ำตาซึมกะเขาเหมือนกัน
ยิ่งเข้าไปอ่านเรื่องราวของทีมฮ้อยท์ในเวบ
ยิ่งประทับใจกับพลังของความรักที่พ่อคนนี้
ส่งต่อผ่านลูกชายไปยังผู้คนทั่วโลก
จะมีพ่อสักกี่คนกันที่จะเป็นฮีโร่ตัวจริงของลูกได้เท่าผู้ชายคนนี้
หัวใจของพ่อลูกคู่นี้ยิ่งใหญ่งดงาม
จนอดนึกไม่ได้ว่า
หากทุกคนสามารถมอบความรักให้คนในครอบครัวหรือใกล้ตัวได้ขนาดนี้
อบอุ่น น่าอยู่ขึ้นอีกมากมาย
ทีมฮ้อยท์ (Team Hoyt) หรือคู่พ่อลูก ดิคและริค ฮ้อยท์ ชาวแมสซาชูเซทส์ สหรัฐฯ ผู้โด่งดังจากการเข้าแข่งขันรายการมาราธอน รายการไตรกีฬา และการแข่งขันกีฬาทรหดอื่นๆด้วยกัน ริคลูกชายพิการทางสมองตั้งแต่เล็ก เพราะสายรกพันคอทำให้สมองถูกทำลายจากการขาดออกซิเจน ภาพที่ทุกคนคุ้นตาคือ ภาพดิคผู้พ่อว่ายน้ำลากเรือบรรทุกริค ปั่นจักรยาน โดยมีริคนั่งอยู่ด้านหน้า และเข็นเก้าอี้วีลแชร์ของริคแข่งวิ่งไปด้วยกัน ดิคและจูดี้ภรรยาไม่สนใจคำพูดของหมอตอนริคอายุได้ 9 เดือนที่บอกให้ทิ้งริคไว้กับสถานดูแลคนพิการเพราะริคจะเป็นได้แค่มนุษย์ผักตลอดชีวิต ดิคและจูดี้สังเกตเห็นริคกวาดสายตาไปรอบๆ ห้องมองตามพวกเขาตลอด ทั้งคู่พาลูกกลับบ้าน มุ่งมั่นที่จะเลี้ยงริคเหมือนคนปกติเท่าที่จะทำได้ ดิคกับจูดี้เชื่อว่าริคฉลาดไม่น้อยไปกว่าน้องชาย 2 คนที่เกิดมา หลังจากนั้น ดิคต่อสู้เพื่อให้ริคได้เข้าเรียนเหมือนเด็กปกติทั่วไป ดิคบอกครูและเจ้าหน้าที่การศึกษาว่า การที่ริคพูดไม่ได้ ไม่ได้หมายความว่าริคไม่รู้เรื่อง สองคนพ่อแม่สอนพยัญชนะและสระให้กับลูก และพยายาม ให้ริคได้ัรับการยอมรับและมีส่วนร่วมในทุกๆอย่างเสมอ เมื่อริคอายุ 11 ปี ดิคกับจูดี้พาริคไปที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Tufts เพื่อปรึกษาหาเครื่องมือช่วยริคในการสื่อสาร แม้จะถูกปฏิเสธในตอนแรกเพราะไม่มีใครเชื่อว่าสมองของริคจะรับรู้อะไรได้ ดิคยืนยันท้าทายให้คนที่นั่นลองเล่าเรื่องตลกให้ริคฟังริคหัวเราะและทำให้ วิศวกรที่ทัฟท์รู้ว่า ริคเฉลียวฉลาดและสมองยังทำงานได้หลายส่วน พวกเขา ช่วยประดิษฐ์คอมพิวเตอร์พิเศษให้ริคสามารถสื่อสารความรู้สึกนึกคิดของเขาได้ ริคอาศัยการขยับศีรษะไปมาในการเลื่อน cursor ไปตามตัวอักษรต่างๆหน้าจอและสัมผัสสวิทซ์ข้างๆศีรษะให้ cursor หยุดที่ตัวอักษรที่เขาต้องการ ดิคผู้พ่อต้องทำงานนอกเวลาเพื่อหาเงินระดมทุนมาเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับ เครื่องมือสื่อสารราคา 5,000 เหรียญของลูก เมื่ออายุได้ 12 ปี คำแรกที่ริค พิมพ์ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์นี้ ก็คือ “Go Bruins” (ประมาณ “ Bruins สู้ สู้ “) เป็นการเชียร์ทีมฮอคกี้ที่กำลังแข่งขันรอบสุดท้ายในขณะนั้น ทำให้ครอบครัวรู้ว่า ริครักและเป็นแฟนกีฬาคนนึง พ่อลูกคู่นี้เริ่มแข่งขันครั้งแรกเมื่อปีคศ 1977 ในการวิ่งการกุศล 5 ไมล์ของโรงเรียนเพื่อช่วยเพื่อนนักเรียนที่ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาลาครอส ดิคผู้มักจะเรียกตัวเองว่าหมูขุนและไม่เคยวิ่งได้เกินครั้งละไมล์ ตอบตกลงที่จะวิ่งเข็นวีลแชร์ไปกับลูก การวิ่งครั้งนั้นเปลี่ยนชีวิตของริค ริคมีความสุขมากเขาพิมพ์คอมพิวเตอร์ บอกพ่อว่า “ พ่อครับ เวลาที่เราวิ่งด้วยกัน ผมรู้สึกว่าผมไม่ใช่คนพิการเลย” ประโยคนี้เปลี่ยนชีวิตของดิคเช่นกัน นับแต่วันนั้น ดิคทำทุกอย่าง ที่ทำให้ลูกรู้สึกเช่นนั้นบ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปี 1979 ดิคเริ่มฟิตร่างกายอย่างหนักเตรียมตัวแข่งบอสตันมาราธอนกับริค ลูกชาย แต่ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าร่วมในการแข่งขันในปีนั้น เพราะขาด คุณสมบัติในการเป็นนักวิ่ง ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ ทั้งสองคนได้แต่ร่วมวิ่งไปพร้อมๆกับกลุ่มคนทั่วไปอยู่ 2-3 ปี กว่าจะได้รับ อนุญาตให้ลงแข่งขันบอสตันมาราธอนอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในปี 1983 หลังจากไปทำเวลาเข้าเส้นชัยใน 2 ชั่วโมง 45 นาที จากการแข่งขันมาราธอน ที่วอชิงตันดีซีได้สำเร็จ เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจแรงต่อต้านที่สองพ่อลูกเคยเจอในอดีต ทัศนคติ ที่ผู้คนมีต่อคนพิการเริ่มเปลี่ยนไป หลังจากที่ดิคและริคเข้าร่วมการแข่งขัน บอสตันมาราธอน และได้อยู่ในกลุ่มต้นๆที่เข้าถึงเส้นชัย ดิคเล่าให้ฟังถึงวันวานที่น่าเศร้ามากกว่าจะขุ่นเคืองว่า "ไม่มีใครอยากให้ริคลงแข่งด้วย ทุก คนได้แต่มอง ไม่พูดอะไร ไม่มีใคร อยากเข้ามาเสวนาหรือสุงสิงกับเรา แต่คุณว่าพวกเขาไม่ได้หรอก คนไม่ค่อยเข้าใจและมีความรู้เรื่องคนพิการ ไม่เคยเห็นคนแบบเราสองพ่อลูก จนเวลาผ่านไปได้สักพักนึง พวกเขาถึงได้เห็นว่า ริคก็เป็นมนุษย์คนนึงเหมือนกัน เช่น เป็นคนที่มีอารมณ์ขันสุดๆ หลังจากนั้น นั่นแหละ ทุกอย่างถึงได้ เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก" หลังจากเข้าร่วมการแข่งขันมาราธอนได้ 4 ปี มีคนชวนให้ดิคลงแข่งไตรกีฬาเพราะเห็นศักยภาพของเขา ดิคตอบตกลงโดยมีข้อแม้ว่าต้องมีริคแข่งด้วยเท่านั้น ผู้ชายกลางคนที่ขี่จักรยานครั้งสุดท้ายตอนอายุ 6 ขวบ ไม่เคยเรียนว่ายน้ำและจมดิ่งลงไปเหมือนก้อนหินในครั้งแรกที่ลงน้ำ อย่างดิคต้องกลับมาฝึกฝนใหม่ เพื่อจะเข็นและลากลูกชายหนัก 110 ปอนด์วิ่ง 10 ไมล์ ว่ายน้ำอีก 1 ไมล์ ขี่จักรยานอีก 50 ไมล์ ไปด้วยกันตลอดการแข่งขันไตรกีฬาที่จัดขึ้นในวันพ่อปี 1985 แม้จะได้ตำแหน่งรองบ๊วย สองพ่อลูก ทีมฮ้อยท์ก็หัวเราะและมีความสุขกับของขวัญวันพ่อที่ริคให้กับดิค | |
ขอบคุณ ภูผาน้ำฝน สำหรับเนื้อหาและการให้คำบรรยายที่ได้ประทับใจ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น