วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

ถังหมักก๊าซชีวภาพ

ถังหมักก๊าซชีวภาพ


รร.วัดประดู่ธรรมธิปัตย์
104 ถ.ประชาราษฎร์สาย 1 บางซื่อ กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ 0-2585-1941 โทรสาร 0-2585-1941 e-mail : watpradu@hotmail.com

แก็สชีวภาพจากมูลสัตว์ เกษตร อ.เมืองนครราชสีมา

สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองนครราชสีมา แนะนำการทำแก๊สชีวภาพ ทางเลือกใหม่ยุคเศรษฐกิจพอเพียง


ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์  
โดย 
นายอนุสรณ์  ฉมารัตน์ 
เกษตรอำเภอปากช่อง
สนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและดูงาน ติดต่อได้ที่
สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองนครราชสีมา
โทรศัพท์  0-4424-4874
ก๊าซชีวภาพ คืออะไร   
                     ก๊าซชีวภาพ คือ ก๊าซที่เกิดจากมูลสัตว์ หรือสารอินทรีย์ต่างๆ ถูกย่อยสลายโดยเชื้อจุลินทรีย์ในสภาพไม่มีอากาศ ทำให้เกิดก๊าซขึ้น ซึ่งก๊าซที่เกิดขึ้นเป็นก๊าซที่ผสมกันระหว่างก๊าซชนิดต่างๆได้แก่ มีเทน (CH4) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซไนโตรเจน (N2) และก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) แต่ส่วนใหญ่แล้วจะประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นหลัก ซึ่งมีคุณสมบัติติดไฟได้ 
ทำไมถึงต้องมีก๊าซชีวภาพ
                    บ่อก๊าซชีวภาพ สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี นอกเหนือจากรักษาสภาพแวดล้อมแล้วยังได้ก๊าซชีวภาพมาเป็นแหล่งพลังงานในการ หุงต้ม และให้แสงสว่างในครัวเรือนซึ่งจะช่วยให้ประหยัดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง บ่อก๊าซชีวภาพยังให้ปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถนำมาใช้ปรับปรุงดินเพิ่มผลผลิตพืช ได้อีกด้วย หรือนำมาใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพใช้ปุ๋ยเคมีให้เป็น ประโยชน์กับพืชมากขึ้น ทำให้ลดการขาดดุลทางการค้าในการสั่งปุ๋ยจากต่างประเทศได้อีกทางหนึ่ง
ขั้นตอนการผลิตแก๊สชีวภาพ แบบพอเพียงในครัวเรือน

  ประกอบคำบรรยาย

เลือกพื้นที่ ไม่ห่างจากคอกสัตว์มากเกินไป ห่างจากครัวไม่เกิด 50 M. น้ำไม่ทั่วขัง  แล้ววางแผนจุดพื้นที่ขุดทำบ่อตามแผน
ขุดบ่อหมักลึก 1.5 M. ก้นบ่อเป็นแอ่งกระทะ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 M.เทพื้นบ่อด้วย ปูนคอนกรีตผสม (1:2:3) แล้วใช้อิฐมอญรอบบ่อขึ้น 40 Cm วางท่อคอนกรีต ขนาด 8 นิ้ว ยาว 1 M. ให้เอียง 60 องศา ทั้ง 2 ด้านให้อยู่ตรงกันข้าม เพื่อต่อไปยังบ่อเติมและบ่อล้น
ก่ออิฐมอญต่อขึ้นอีก 60 cm. ฉาบผิวบ่อด้วยปูนซีเมน ทำบ่อล้นให้ห่างจากบ่อหมักสุดปลายท่อ โดยใช้บ่อคอนกรีต(ถังส้วม) 2ถัง
ก่ออิฐมอญให้รอบบ่อหมัก  ด้านหนึ่งของปลายท่อติดคอกสัตว์ทำบ่อเติมด้วยอิฐบล็อกขนาด 50 x 70 cm. (รูปแบบตามต้องการ)
ก่อให้โค้งขึ้น(เหมือนทำโอ่งน้ำ)ให้เหลือไว้ทำปากบ่อประมาณ 90 cm. ค่อยๆก่อปากบ่อขึ้นให้ปูนแห้ง
ใช้กะละมังขาดประมาณ 60 cm. ทำปากบ่อ และทำฝาปิดบ่อปิดใช้กะละมังใบเดิมใสปูน ใส่ท่อน้ำขนาด 4 หุน ยาว 50 cm. ไว้ตรงกลาง
ตกแต่งปากบ่อหมักให้เรียบ นำฝาที่ทำไว้มาปิด ยาแนวด้วยดินเหนียวละเอียด รดน้ำให้ฝาชุ่ม กันดินเหนียวแห้ง
ทดสอบความรั่วของบ่อ ใช้หลักการ Barlow Meter เติมมูลสัตว์ 50-100 ปี๊บ(มูลสัตว์ผสมน้ำ 1:1) หมักไว้ 7 วัน จะเกิดแก๊สสังเกตบ่อล้น
จึงเปิดวาล์วที่ติดไว้กับท่อน้ำแก๊ส  ต่อสายยางเข้าเตาแก๊สหุงต้ม ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้เหมือนแก๊สหุงต้มทั่วไป
หลักปฏิบัติและดูแลบ่อแก๊สชีวภาพ
            1. ต้องเติมมูลสัตว์ทุกวัน วันละ 1 ปี๊บ (มูลสัตว์ผสมน้ำ 1:1)
                2. ห้ามใส่หรือทิ้งสารเคมี เช่น ผงชักฝอก น้ำยาล้างจาน คลอรีน เพราะจะทำให้จุลินทรีย์ตาย
ข้อดีของการมีบ่อแก๊สชีวภาพ
           1. ประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
             2. ใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์
             3. มูลที่ได้จากบ่อล้น เป็นปุ๋ยคุณภาพดี  ผ่านการหมักทำลายการงอกของเมล็ดพืชและไข่แมลง เชื้อโรคต่างๆ  ไม่มีกลิ่นเหม็น
             4. แก๊สที่ได้ยังสามารถประยุกต์ใช้กับเครื่องยนต์รอบต่ำและเป็นพลังงานเชื้อเพลิงในตะเกียงเจ้าพายุได้ด้วย